การทำนายอัตราการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ และความแปรปรวนสภาวะภูมิอากาศในจังหวัดนครราชสีมาด้วยแบบจำลองเชิงสถิติ และการจำลองเหตุการณ์แบบมอลติคาร์โล

ผู้แต่ง

  • วัชราภรณ์ เชื่อมกลาง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นิรันดร์ คงฤทธิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • หฤษฎ์สลักษณ์ วิริยะ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.12

คำสำคัญ:

โรคระบบทางเดินหายใจ, มลพิษทางอากาศ, สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์, มอลติคาร์โล

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เชิงสถิติระหว่างโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษและความแปรปรวนสภาวะภูมิอากาศในจังหวัดนครราชสีมา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยแบบจำลองเชิงสถิติและการจำลองเหตุการณ์แบบมอลติคาร์ ผลการศึกษาพบว่า กรณีโรคปอดบวม ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการคาดการณ์การเกิดโรคคือ อุณหภูมิสูง อุณหภูมิต่ำ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และทิศทางลม มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ = 1.00 และการศึกษาความอ่อนไหวของสมการพบว่า ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์มีอิทธิพลต่อการคาดการณ์การเกิดโรคปอดบวมมากที่สุด มีค่าอยู่ระหว่าง 20.74–25.81 ซึ่งการเกิดโรคปอดบวมเมื่อหายใจเอาก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์เข้าไปการระบายอากาศที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดการติดเชื้อทางเดินหายใจได้ กรณีโรคไข้หวัดใหญ่ ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการคาดการณ์การเกิดโรคคือ อุณหภูมิสูง อุณหภูมิต่ำ โอโซน และทิศทางลม มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ = 0.23 และการศึกษาความอ่อนไหวของสมการพบว่า อุณหภูมิสูง มีอิทธิพลต่อการคาดการณ์การเกิดโรคไข้หวัดใหญ่มากที่สุด มีค่าอยู่ระหว่าง 29.79–35.93 ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น เชื้อไวรัส Influenza virus (อินฟูเอ็นซ่า ไวรัส) อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบได้ดีคืออุณหภูมิสูง ยิ่งอุณหภูมิสูงขึ้นจะมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มขึ้น

References

Bangphatanasiri, K. (2007). Global warming with the respiratory world. Thai Journal of Cardio-Thoracic Nursing, 18(1), 2-9. (In Thai)

Cholathat R, (2015). Climate Change and Solutions. Journal of Social Sciences: Srinakharinwirot University, January-December,(2015), 416-431. (In Thai)

Maiman, C. (2012). Clean Production Technology. Academic Journal. Eastern Asia University: Science and Technology, 6(1), 34-39. (In Thai)

Nakhon Ratchasima Provincial Health Office. (2014). Report 504 Public Health Research Institute, Department of Medical Sciences. Bangkok : Pimluk. (InThai)

Nakhon Ratchasima Provincial Health Office. (2014). Report 504, 43 files databases Epidemiology report. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Provincial Health Office. (In Thai)

Office of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2015). Documents from the Meeting on (Draft) Report of Pollution Situation in Thailand. Bangkok : Ministry of Natural Resources and Environment. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environment Region 11 Nakhon Ratchasima Province. (2015). Report, Summary of Situation and Air Quality Nakhon Ratchasima Province, Year 2009-2014. Nakhon Ratchasima : Office of Natural Resources and Environment Region 11. (In Thai)

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning. (2015). Complete Report on the Project to Prepare for and Prevent the Effects of Climate Change that May Have on Ecosystems and Natural Environment that Should be Conserved (Waterfall). (In Thai)

Pollution Control Department. (2012). Pollution Management Plan 2012-2016 (1st ed.). Bangkok : Military Dovition Planning and Evalution Department of Pollution Control Department. (In Thai)

Todar, K. (2017). Streptococcus pneumoniae: Pneumococcal pneumonia. Retrieved January 13, 2017, form http://textbookofbacteriology.net/S.pneumoniae.html

Vejpanich S, (2016). The Relationship between the Distribution of Influenza-like Symptoms and Climate in Each Area of Thailand. Thesis for Master of Science degree in Health Research and Management Program, Department of Preventive and Social Medicine, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

World Health organization. (2003). WHO guidelines for air quality. Face Sheet No. 187. Retrieved June 23, 2009, from http://www.who.int/inffs/en/fact187.html

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite

เชื่อมกลาง ว., คงฤทธิ์ น., & วิริยะ ห. . (2020). การทำนายอัตราการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจจากมลพิษ และความแปรปรวนสภาวะภูมิอากาศในจังหวัดนครราชสีมาด้วยแบบจำลองเชิงสถิติ และการจำลองเหตุการณ์แบบมอลติคาร์โล. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(1), 146–154. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.12