การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์

ผู้แต่ง

  • วาสนา กีรติจำเริญ 0841020893

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.43

คำสำคัญ:

การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์, ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์ 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 สาขาฟิสิกส์ คณะครุศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาการออกแบบและการจัดการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์ จำนวน 8 แผน ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 80 ข้อ และแบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X} =4.49, S.D.=0.09) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม (gif.latex?\bar{X} =4.55, S.D.=0.07) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการจัดการเรียนรู้ตามแบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์หลังเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด

References

Chapandung, N. (2015). A Study of Learning Achievement on Life Environment Learning Unit, Scientific Process Skills and Scientific Mind of Prathomsuksa 6 Students from Inquiry Cycle Learning Management (7E) with Concept Map. A Thesis for Master of Education at Nakhon Ratchasima Ratchasima Rajabhat University, Nakhon Ratchasima. (In Thai)

Eisenkraft, A. (2003). Expanding the 5E model: A proposed 7E model emphasizes “transfer of learning” and the importance of eliciting prior understanding. The Science Teacher, 70(6), 56-59.

Gulati, S. (2005). A comparison of inquiry-based teaching through concept maps and traditional teaching in biology. A Dissertation for Doctor of Education of Currinculum and Instruction Program in the Graduate School, Unversity of South Dakota.

Keeratichamroen, W. (2017). Skill and Technique of Teaching for the 21st Century. Nakhon Ratchasima : Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Keeratichamroen, W., Dechsri, P., Panijpan, B., & Ruenwongsa, P. (2010). Enhancing student conceptualization of a combustion chemical reaction using the Tapioca Bomb activity : an inquiry-based approach. International Journal of Learning, 17(1), 275-292.

Kittisuntorn, C. and Keeratichamroen, W. (2017). A Study of 21st Century Learning Skills of Undergraduate Students on Curriculum Development Course Using Big Five Learning. NRRU Community Research Journal, 11(1), 103-112. (In Thai)
Moonkam, S., & Moonkam, O. (2009). Learning Method: For Development of Thinking (8th ed.). Bangkok : Pappim. (In Thai)

Muangpanao, N., & Keeratichamroen, W. (2018). Learning Achievement and Critical Thinking Ability for Grade 11 Students Using Inquiry Method Management (7E) with Concept Map. Academic Services Journal, Prince of Songkla University, 29(3), 40-49. (In Thai)

Nuangchalerm, P. (2007). A Study on Science Competency Using 7E Learning Cycle. Academic Journal, 10(4), 25-30. (In Thai)

_______. (2015). Science Teaching in the 21st Century. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 9(1), 136-154. (In Thai)

Panit, W. (2012). How to Create Learning for Students in the 21st Century. Bangkok : Sodsri-Saritwong Foundation. (In Thai)

Poojaphon, U., & Keeratichamroen, W. (2017). A Study of Learning Achievement on Electricity and Magnetism Learning Unit of Prathomsuksa 6 Using Stem Education. Journal of Education Graduate Studies Research, KKU, 11(1), 243-250. (In Thai)

Sinthaphanon, S. (2015). Learning management of Teacher for student in the 21st Century. Bangkok : 9119 Technique printing. (In Thai)

Susaorat, P. (2013). Development of Thinking (5th ed.). Bangkok : Technique Printing. (In Thai)

Tanya, S. (2012). Educational Research Methodology. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Thonabutra, J. (2017). Applying the 5E Knowledge-Bases Inquisitive Learning Management for the 21st Century. Retrieved May 14, 2018 from https://www.kroobannok.com/news_ file/p20114860835.pdf (In Thai)

Wiangwalai, S. (2013). Learning Management. Bangkok : Odeon Store. (In Thai)

Wongkitroongroeng, W., & Jittaruak, A. (2011). 21st Century Skills: Rethinking How Students Learn. Bangkok : Open-world. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

กีรติจำเริญ ว. (2019). การศึกษาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ (7E) ร่วมกับผังมโนทัศน์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 31–43. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.43