ต้นแบบการจัดการท่องเที่ยววิถีฮาลาลในจังหวัดเชียงใหม่
DOI:
https://doi.org/10.14456/10.14456/nrru-rdi.2019.27คำสำคัญ:
ต้นแบบ, การจัดการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยววิถีฮาลาลบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยววิถีฮาลาลของต้นแบบ และศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้มาจากเกณฑ์การคัดเลือก ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 6 กลุ่ม รวม 27 คน ได้แก่ กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว 5 คน กลุ่มผู้ประกอบการสถานที่พักแรม 5 คน กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร 5 คน กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจขนส่ง 5 คน กลุ่มตัวแทนหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่ดูแลรับผิดชอบแหล่งท่องเที่ยว 5 คน และกลุ่มนักวิชาการที่เชี่ยวชาญด้านมุสลิมศึกษา/การท่องเที่ยววิถีฮาลาล จำนวน 2 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยวตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญแล้วเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการจำแนกประเภทข้อมูล
ผลกาวิจัยพบว่า การจัดการด้านสถานที่พักแรม มีการแบ่งชั้นห้องพัก พื้นที่สำหรับทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างชาย-หญิง ที่เดินทางมาพักคนเดียวอย่างชัดเจน มีสัญลักษณ์บอกทิศในการทำละหมาดและทิศในการประกอบศาสนกิจ มีสถานที่การทำละหมาด ไม่มีสถานเริงรมย์ สถานที่เล่นการพนัน และการตกแต่งด้วยปติมากรรมคล้ายหรือเหมือนมนุษย์ ด้านอาหาร มีการแยกครัว วัสดุอุปกรณ์ วัตถุดิบ กระบวนการผลิต และกรรมวิธีการทำอาหาร ที่ให้บริการเฉพาะอาหารและเครื่องดื่มฮาลาลถูกต้องตามหลักศาสนาอิสลาม ด้านการขนส่งมีการจัดเครื่องบินและรถยนต์โดยสารให้เป็นไปตามมาตรฐานฮาลาล และด้านแหล่งท่องเที่ยวมีการจัดแยกประเภทการให้บริการนักท่องเที่ยวอย่างชัดเจนและในทุกแหล่งท่องเที่ยวจะมีเครื่องหมายฮาลาล สำหรับปัญหาและอุปสรรค์ที่สำคัญคือ จำนวนร้านอาหารฮาลาลตามแหล่งท่องเที่ยวไม่เพียงพอ การขาดแคลนบุคลากรประกอบอาหารฮาลาลและบุคลากรให้บริการยังไม่มีความรู้ความเข้าใจเพียงพอ และยังไม่มีการให้บริการสายการบินเฉพาะแบบฮาลาล
References
Department of Industrial Promotion. (n.d.). Strategy for Promotion and Development of Halal Business Products and Services (2016-2020). Retrieved Febuary 8, 2018, from https:// www.dip.go.th/Portals/0/2558/Busarin/ Khawfak/Halal%20Strategy.pdf (In Thai)
Department of International Trade Promotion. (2017). Muslim tourism market. Nontahburi : Department of International Trade Promotion. (In Thai)
Institute of Asian Studies Chulalongkorn University. (2015). Promotion of halal tourism, new selling points of Singapore. Retrieved Febuary 8, 2018, from https://www.thaiworld.org (In Thai)
Kraiprasak, P. (2008). Study of tourism situation for tourists from Middel East countries in Thailand. Bangkok : Policy Development Center. (In Thai)
Nilawan, D., & Others. (2016) The plan to increase the potential of halal tourism in Chiang Mai. Cguabg Mai : Chiang Mai Rajabhat University. (In thai)
Pew Research Center. (2011). The Future of the Global Muslim Population: Projections for 2010-2030. Retrieved March 18, 2011, from https://www.euro-muslims.eu/future_global. pdf.++
Sripimolsompong, C. (2007). Tourism marketing planning and development (6th ed.). Bangkok : Kasetsart University. (In Thai)
Thongpak, P., & Others. (2003). Characteristics of spending to buy products and the demand for services of foreign tourists for tourism in Thailand. Bangkok : Ramkhamhaeng Univesity. (In Thai)
Tourism Authority of Thailand. (2017). Summary of tourist situations. In the travel brochure. Bangkok : Tourism Authority of Thailand. (In Thai)