การประเมินผลนโยบายเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลัง กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.13Keywords:
การประเมินผลนโยบาย, เกษตรแปลงใหญ่, มันสำปะหลังAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย 1) ศึกษาผลลัพธ์ของการดำเนินการตามนโยบายเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนานโยบายเกษตรแปลงใหญ่มันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา การวิจัยครั้งนี้เน้นรูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งเป็นพื้นที่เพาะปลูกและเป็นพื้นที่ส่งออกอันดับที่ 1 ของประเทศ ใน 9 อำเภอ ของจังหวัดนครราชสีมา แบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) เจ้าหน้าที่เกษตรอำเภอ 2) ผู้ประกอบการโรงแป้งมันสำปะหลัง และ 3) ตัวแทนเกษตรกรกลุ่มมันสำปะหลังแปลงใหญ่ รวมจำนวน 20 ราย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง และวิเคราะห์ สรุปผลการศึกษาแบบพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาพรวมการประเมินด้านบริบทของนโยบาย ตัวแทนกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่เข้าใจถึงวัตถุประสงค์ของโครงการ 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า เจ้าหน้าที่ของรัฐไม่เพียงพอต่อการขับเคลื่อนโครงการ 3) การประเมินด้านกระบวนการดำเนินงาน มีปัญหาในการบริหารจัดการกลุ่ม รวมถึงปัญหาการบริหารทรัพยากรที่ได้รับจากภาครัฐ 4) การประเมินด้านผลผลิต ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของภาครัฐที่กลุ่มแปลงใหญ่มันสำปะหลังจะต้องมีโรงงานแป้งรับซื้อผลผลิตที่สูงกว่าราคาท้องตลาด 50 สตางค์ โดยแนวทางพัฒนานโยบายแปลงใหญ่มันสำปะหลัง รัฐต้องมีการดำเนินการด้านการอบรมให้ความรู้ในการบริหารจัดการกลุ่มแปลงใหญ่ โดยพัฒนาผลผลิตให้มีคุณภาพ และส่งเสริมการเชื่อมโยงเครือข่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มมันสำปะหลังแปลงใหญ่
References
Adofu, L., Shibu, S., & Yakubu, S. (2015). THE ECONOMIC IMPACT OF IMPROVED AGRICULTURAL TECHNOLOGY ON CASSAVA PRODUCTIVITY IN KOGI STATE OF NIGERIA. International Journal of Food and Agricultural Economics, 1(1), 63-74.
Brodrick, O. A. (2014). EXPLORING THE POTENTIAL OF CASSAVA FOR AGRICULTURAL GROWTH AND ECONOMIC DEVELOPMENT IN NIGERIA. Thesis, Doctor of Philosophy degree in Earth and Environmental Sciences, Faculty of Sciences and Environment, School of Geography.
Chandarasorn, V. (2011). An integrated theory of public policy implementation (5th ed.). Bangkok : Prigwhan Graphic. (In Thai)
Edwards, G. C. (1984). Implementing Public Policy. Washington D.C. : Congressional Quarterly Press.
FAO. (2016). Food Outlook BIANNUAL REPORT ON GLOBAL FOOD MARKETS. October 2016. Food and Agriculture Organization of the United Nations.
Franklin, K. A. (2016). Sustainability Challenges for Maize and Cassava Farmers in Amankwakrom Subdistrict, Ghana. Thesis, Doctoral of Business Administration degree, Walden University.
Gilbert, O. A. (2015). MARKET PARTICIPATION AMONG CASSAVA VALUE CHAIN ACTORS IN RURAL BENIN. Thesis, Doctor of Philosophy degree, Candidate University of Ghana.
Office of Agricultural Economics. (2015). The guide measures reducing production costs and increasing the likelihood of agricultural product competitions. With large-format agricultural promotion system (prototype conversion) year 2016. Office of Agricultural Economics. (In Thai)
Office of Agricultural Economics. (2017). Cassava Factory : Planted Harvested area, production and yield by province. Retrieved September 28, 2017, from http://www.oae.go.th /view/1/Cassava profile Table/TH-TH. (In Thai)
Rayasawath, C., & Laothamatas, A. (2015). Evaluation of the Public Policy of Sweet Cassavas Pledging : A Study of the Northeast Region’s Pledging. Ratchaphruek Journal, 13(2), 33-40. (In Thai)
Sabatier, P. A., & Mazmanian, D. A. (1983). Policy implementation. In S. S. Nagel (Ed.), Encyclopedia of Policy Studies (pp. 20-35). New York : Marcell Dekker.
Siriswat, C., & Khampa, S. (2011). A Study for Interfering Assessment of Agricultural Price In Case Study on Cassava Production. The Secretariat of the Senate. (In Thai)
Stufflebeam, D. L., & Shinkfield, A. J. (2007). Evaluation: theory, models and applications. San Francisco : Jossey-Bass.
Van Meter, D., & Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process : A Conceptual Framework. Administration and Society, 6(4), 445-488.
Yuguda, R. M., et al. (2013). SOCIO -ECONOMIC FACTORS AND CONSTRAINTS INFLUENCING PRODUCTIVITY AMONG CASSAVA FARMERS IN TARABA STATE, NIGERIA. International Journal of Advances in Agricultural Science and Technology, 1(1), 1-15.