เปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายระหว่างก่อนและหลังการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557

ผู้แต่ง

  • ศุภพิชญ์ มวลตะคุ วิทยาลัยปกครองท้องถิ่นมหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.17

คำสำคัญ:

เปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณ, นโยบาย, รัฐประหาร

บทคัดย่อ

   งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบนโยบายและการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายของรัฐบาลก่อนและหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 ซึ่งรัฐบาลก่อนและหลังรัฐประหารมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนทั้งในเรื่องของการได้มาซึ่งอำนาจบริหาร และมุมมองแนวคิดในการกำหนดนโยบายเพื่อจัดสรรเงินงบประมาณต่าง ๆ ของรัฐ เพื่อมุ่งหาคำตอบว่า รัฐบาลก่อนและหลังการรัฐประหาร พ.ศ. 2557 มีข้อแตกต่างในการจัดสรรด้านของตัวเลขจำนวนงบประมาณ และมีความแตกต่างในด้านนโยบายหรือไม่ อย่างไร งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การศึกษาโดยการเก็บรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารหลักฐานและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างในส่วนของนโยบายและการจัดสรรงบประมาณในสี่ด้าน อันประกอบด้วย การสาธารณสุข การลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การทหารและความมั่นคงของชาติ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการสังคม

            ผลการวิจัยพบว่า การจัดสรรงบประมาณในห้วงก่อนและหลังรัฐประหาร พ.ศ. 2557 มีทั้งส่วนที่เหมือนและแตกต่างกัน ในส่วนที่เหมือนกันพบว่า ในมิติด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสวัสดิการสังคมเป็นส่วนที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุนมากที่สุดเช่นเดียวกัน และในส่วนที่แตกต่างกันพบว่า ในมิติด้านการทหารและความมั่นคงของชาติได้รับการจัดสรรงบประมาณด้านการลงทุนมากขึ้นในห้วงหลังการรัฐประหาร เมื่อวิเคราะห์ในมิติกรอบแนวคิดในการกำหนดนโยบาย พบว่า รัฐบาลทั้งก่อนและหลังรัฐประหารใช้นโยบายประชานิยมเป็นหลัก และมุ่งเน้นไปเพื่อการฟื้นฟูเศรฐกิจจากเหตุการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองเหมือนกัน แต่มีส่วนที่แตกต่างกันคือ รัฐบาลบาลก่อนการรัฐประหารใช้หลักคิดเศรษฐกิจแบบเสรีนิยม ในขณะที่รัฐบาลหลังการรัฐประหารมุ่งเน้นกรอบนโยบายที่เน้นความปรองดองของประชาชนและความมั่นคงของชาติ

References

BBC News. (2017). Government spokesman confirmed Cabinet approved submarine purchase. Retrieved April 24, 2017, from https://www.bbc.com/thai/thailand-39694976 (In Thai)

_______. (2017). Open a project to buy weapons in the NCPO era that many people may not know. Retrieved April 26, 2017, from https://www.bbc.com/thai/thailand-39716273 (In Thai)

Buracom, P. (2015). Public Expenditure Analysis. Bangkok : S&G. (In Thai)

Joyce, P. G., & Pattison, S. (2010). Public budgeting in 2020: return to equilibrium, or continued mismatch between demands and resources. Public Administration Review, 70(1). Retrieved February 25, 2018, from https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1111/j.1540-6210.2010.02243.x

Siripraphanukun, P. (2013). Analysis of law to promote financial and fiscal discipline (Proposal on Finance and Financial Discipline Bill). Retrieved February 25, 2018, from https://tdri. or.th/2013/08/tlw_fiscaldiscipline-2/ (In Thai)

Sujjapanroj, W. (2007). Pollical economy of Thailand's budget allocation between 1961-2006. Thesis, Master of Arts degree in Political Economy, Faculty of Economics, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Suwanmala, C. (2003). Budget system and successful management in the public sector: the relationship between the state and modern citizens. Bangkok : Thanatat Printing. (In Thai)

Thai PBS News. (2018y). "Toon Body Slam" hands a donation to the project "One step at a step" to 11 hospitals. Retrieved February 25, 2018, from https://news.thaipbs.or.th/ content/270552 (In Thai)

Thairath Online News. (2016). Opening the budget for the rental of the 'Big Pom' team, flying over the sky to Hawaii with a budget of over 20 million. Retrieved October 2, 2016, from https://www.thairath.co.th/content/741276 (In Thai)

_______. (2018). 4 years in the NCPO to spend at least nearly 50 billion to buy weapons from the Great China. Retrieved June 13, 2018, from https://www.thairath.co.th/news/politic/ 1307027 (In Thai)

Trakansirin, P. (2005). Government Finance (2nd ed.). Bangkok : Kanungnit Printing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite

มวลตะคุ ศ., & เหล่าจันขาม ศ. (2020). เปรียบเทียบการจัดสรรงบประมาณรายจ่ายระหว่างก่อนและหลังการรัฐประหาร ปี พ.ศ. 2557. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(1), 205–218. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.17