ภาพลักษณ์พรรคการเมืองอันพึงประสงค์และภาพลักษณ์พรรคชาติพัฒนา ตามการรับรู้ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • ฉัตรสุรางค์ กองภา คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.59

คำสำคัญ:

ภาพลักษณ์พรรคการเมืองอันพึงประสงค์, ภาพลักษณ์พรรคชาติพัฒนา, การรับรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาพลักษณ์พรรคการเมืองอันพึงประสงค์ของประชาชนในจังหวัดนครราชสีมา และ 2) ศึกษาภาพลักษณ์พรรคชาติพัฒนาตามการรับรู้ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา เป็นการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณจำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีจับฉลาก ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกกลุ่มที่มีส่วนเกี่ยวข้อง คือ ตัวแทนนักวิชาการ ตัวแทนพรรคการเมืองหรือนักการเมือง ตัวแทนผู้นำชุมชนและประชาชน จำนวน 12 ท่าน โดยใช้การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแล้วนำมาเปรียบเทียบเหตุการณ์

            ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของภาพลักษณ์พรรคการเมืองอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=2.62, S.D.=0.60) และรายด้านที่อยู่ในอันดับหนึ่งคือ ด้านที่ทำคุณประโยชน์ทางเศรษฐกิจให้แก่ส่วนร่วม ( gif.latex?\bar{X}=2.64, S.D.=0.59) มีความสอดคล้องกับการสนทนากลุ่มในเรื่องการสร้างความมั่นคงในชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจตอบสนองต่อผลประโยชน์ของประชาชนและประเทศชาติเป็นหลัก สำหรับภาพรวมของภาพลักษณ์พรรคชาติพัฒนาตามการรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=1.97, S.D.=0.63) และรายด้านที่อยู่ในอันดับหนึ่งคือ ด้านที่มีความสัมพันธ์อันดีกับประชาชน (gif.latex?\bar{X} =2.01, S.D.=0.65) มีความสอดคล้องกันกับการสนทนากลุ่มในเรื่องการเป็นพรรคการเมืองที่เน้นประนีประนอม เดินทางสายการทางการเมือง และไม่มีปัญหาเรื่องความขัดแย้งและการกระทำผิดกฎหมาย

References

Bumrungpol, C. (2013). KNOWLEDGE AND PERCEPTION OF PUBLIC INFORMATIO CHANNELS FOR THE ELECTION FOR THE HOUSE OF REPRESENTATIVES OF THE PEOPLE IN MUANG CHONBURI MUNICIPALITY, CHONBURI PROVINCE. A Special problems for the Degree of Public Administration in General Administration, Graduate School of Public Administration, Burapha University, Chonburi. (In Thai)

Chaisopa, S. (2006). A PERCEPTIVE OF ORGANIZATION CLIMATE FOR PERSONNEL IN AUTOMOTIVE FACTORY : CASE STUDY IN ASAHI SOMBOON ALUMINIUM, CO, LTD. A Thesis for the Degree of Master of Arts in Social Sciences for Development Rajabhat Rajanagarindra University, Chachoengsao. (In Thai)

Chinnabut, W. (2016). Political Popularity of Chart Thai pattana party in Suphan Buri Province. Bangkok : Faculty fo Political Science, Ramkhamhaeng University. (In Thai)

Election Commission. (2018). Political party. Retrieved May 16, 2018, from https://ect.go.th/ewt/ ewt/ect_th/news_page.php?nid=863 (In Thai)

Kamonsucharitphan, P. (2004). Image communication : A case study of the Thai Rak Thai Party. An Individual Study for the Degree of Master of Arts program in Corporate Communication Management, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Kongthon, N. (2017). Creating political image. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Nakhon Ratchasima Provincial Election Commission. (2016). Internal deocument, data base area, number of voting units, population with voting rights. Nakhon Ratchasima : n.p. (In Thai)

Phanchupetch, C. (2012). Politics and government in Thailand (8th ed., revised version). Pathumthani : PUNCH GROUP. (In Thai)

Phooksawat, A. (2013). Public relations for image building (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Si Sa-at, B. (2013). Preliminary research (9th ed.). Bangkok : Suwiwiyasan. (In Thai)

Sope, N. (2015). The Relationship between the Perception of the Public Relations and Perception of the Image Recognition in the Municipality Bangkokkhwaek District, Samut Songkhram. An Independent Study or the Degree Master of Arts Program in Public and Private Management, Garduate School, Silpakorn University, Nakhonpathom. (In Thai)

Techamongkhonsiri, P. (2013). Perception Image of Schneider Electric (Thailand) Ltd. From Customer Who Living in Bangkok. An Individual Study for the Degree of Master of Arts program in Corporate Communication Management, Faculty of Journalism and Mass Communication, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Wanichabancha, K. (2009). Statistics for research (4th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)

Wirawan, A. (1984). Crisis resolution and image creation for the organization. Retrieved March 1, 2018, from https://info.gotomanager.com/news/printnews.aspx?id=32640 (In Thai)

Wongmontha, S. (1998). How is that image important?. Bangkok : Thirafilm and Sitex. (In Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

กองภา ฉ. (2019). ภาพลักษณ์พรรคการเมืองอันพึงประสงค์และภาพลักษณ์พรรคชาติพัฒนา ตามการรับรู้ของประชาชนจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 237–246. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.59