การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยตามความต้องการของผู้ใช้ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์

ผู้แต่ง

  • กรกนก ธูปประสม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • กาญจนา ท่อแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • นันทกา ปรีดาศักดิ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พัทธนันท์ เกิดคง มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สาวิตรี จันทร์โสภา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • โสภิดา โคตรโนนกอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.6

คำสำคัญ:

ความต้องการของผู้ใช้ครูในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัย, The needs of teacher users in child development centers, Desirable characteristics of early childhood teacher

บทคัดย่อ

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยตามความต้องการของผู้ใช้ครู 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามความต้องการของผู้ใช้ครู และ 3) หาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะของครูปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างกลุ่มผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 398 คน และกลุ่มผู้บริหารหรือหัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 330 คน ได้มา จากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยไม่ใช้ความน่าจะเป็น และด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ เอกสารคุณลักษณะของครู ใช้วิธีการสังเคราะห์เอกสารและตรวจสอบความสอดคล้องโดยผู้เชี่ยวชาญ และแบบสอบถามความคิดเห็นที่พัฒนาขึ้น มีค่า IOC ทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลสภาพคุณลักษณะที่พึงประสงค์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาคุณลักษณะของครูปฐมวัยด้วยสูตร PNI modified

ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยมีความครอบคลุมมาตรฐานการประกอบวิชาทางการศึกษา จำนวน 5 ด้าน 19 ตัวบ่งชี้ 55 สภาพที่พึงประสงค์ 2) ผู้ปกครองมีความต้องการจำเป็นในด้านประสบการณ์ และการพัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ และผู้บริหารหรือหัวหน้าศูนย์มีความต้องการจำเป็น ด้านคุณธรรม และจริยธรรม 3) แนวทางการพัฒนาคือ โดยการประเมินภายใน ให้คะแนนและให้คำแนะนำ อบรมแลกเปลี่ยนระหว่างศูนย์ สร้างความตระหนัก กระตุ้นโดยการนิเทศกทุกเดือน หน่วยงานให้กำลังใจและชมเชย ส่งเสริมการเข้าสู่ตำแหน่งส่วนกลาง จัดทำแผนพัฒนารายบุคคลในการศึกษาดูงาน และอบรมในหน่วยงานทางสาขาปฐมวัย

References

Boonpitak, S. (2007). Early Childhood Teacher Development on Early Childhood Teaching Activities Under the Kamphaeng Phet Educational Service Area Office, 2. Research report. Kamphaeng Phet : Kamphaeng Phet Rajabhat University. (In Thai)

Constitutional Committee. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand. Bangkok : Constitutional Committee. (In Thai)

Department of Local Administration. (2002). A guide to child development centers for local government organizations. Bangkok : Office of Local Education Administration. (In Thai)

Jampa, W. (2009). A study of teachers' self-development needs. Ramkhamhaeng University Demonstration School M.Ed. Bangkok: Ramkhamhaeng University. (In Thai)

Johnson, B., & Christensen, L. (2006). Educational research: Quantitative, qualitative, and mixed approaches (4th ed.). Collins, K. M. T. : Onwuegbuzie.

Khamtha, N. (2016). Desirable Characteristics of Teachers in the 21st Century in PlaPak District Primary School, Nakhon Phanom Province. Rajapark Institute Research Journal, 10(20), 115-127. (In Thai)

Secretariat of the Teachers Council of Thailand, 2011 Desirable characteristics of early teachers in accordance with the professional standards of the Secretariat of the Teachers Council of Thailand, Bangkok. (In Thai)

Sipai, S. (2019). The study of the characteristics of good teachers in the 21st century in the northeast region. Journal of Education Maha Sarakham Rajabhat University, 13(2), 246-263. (In Thai)

Sirirangsri, P. (2014). The elevation of the quality of Thai teachers in the 21st century. Bangkok : College of Education. Graduate Business University. (In Thai)

Thipthanaphat, S. (2014). The Development of Teaching Professional Experience Model for Enhancing the Required Characteristics of Teacher in the 21st Century. Journal of Education Naresuan University, 17(1), 41-46. (In Thai)

Thongpakdee, L. & Julsiriphong, S. (2018). Development of teacher learning management abilities in basic education institutions. Nakhon Ratchasima province to develop learning outcomes of learners of the 21st century by using cooperative learning management. NRRU Communities Research Journal, 12(1), 139-153. (In Thai)

Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (2nd ed.). New York : Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite

ธูปประสม ก., ท่อแก้ว ก., ปรีดาศักดิ์ น., เกิดคง พ., จันทร์โสภา ส., & โคตรโนนกอก โ. (2020). การศึกษาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของครูปฐมวัยตามความต้องการของผู้ใช้ครู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกลุ่มจังหวัดนครชัยบุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(1), 69–81. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.6