การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ และความคงทนของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้แต่ง

  • มัญฑนา ลาภยิ่งยง โรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.44

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การเรียนการสอนคณิตศาสตร์, มโนทัศน์, ความคงทนของมโนทัศน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอน 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามี 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นตอนที่ 2 การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ขั้นตอนที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 4 การประเมินผลและปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/2 โรงเรียนหนองงูเหลือมพิทยาคม สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 40 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอน สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)

            ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์และความคงทนของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีชื่อว่า “REUCA Model” ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวน (Reviewing: R) ขั้นที่ 2 ขั้นยกตัวอย่าง (Example: E) ขั้นที่ 3 ขั้นทำความเข้าใจ (Understanding: U) ขั้นที่ 4 ขั้นสร้างมโนทัศน์ (Constructing Formation: C) และขั้นที่ 5 ขั้นนำไปใช้ (Applying: A) ผลการทดสอบค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ E1/E2 เท่ากับ 80.65/81.17 เป็นตามเกณฑ์ 80/80 2) มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความคงทนของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ และ 4) นักเรียน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก

References

Bell, et al. (1983). A Review of Research on Learning and Teaching. Windsor : NFER-Nelson.

Cangelosi, J. (1988). Development and Validation of the Underprepared Mathematics Teacher Assessment. New York : John Wiley & Sons.

Cooney, J., Davis, E., & Henderson, K. B. (1975). Dynamics of Teaching Secondary School Mathematics. Boston : Houghton Mifflin Company.

Gunter, M. A., Estes, T. H., & Schwab, J. H. (1990). Instructional: A Model Approach. Boston : Allyn and Bacon.

Kammanee, T. (2008). Teaching Science: Knowledge for Learning Management Process (11th ed.). Bangkok : Printing of Chulalongkorn University. (In Thai)

Kunaruk, K. (2009). Teaching Design. Nakhon Pathom : Printing of Silpakorn University. (In Thai)

Lasley, T. J., & Matczynski, T. J. (2002). Introduction Model: Strategies for Teaching in a Diverse Society (2nd ed.). Belmont : Wadsworth.

Makanong, A. (2003). Theories and Application in Mathematics Education. Bangkok : Printing of Chulalongkorn University. (In Thai)

Makanong, A. (2008). Development of Mathematics Concept Using Concept Attainment Model and Higher Order Questions. Bangkok : Faculty of Education, Chulalongkorn University. (In Thai)

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551. Bangkok : Printing of the Agricultural Cooperative Federation of Thailand Limited. (In Thai)

Mitchelmore, M. C., & White, P. (2004). Teaching Mathematics Concept: Instructional for Abstraction. Invite regular lecture presented at the 10th International Congress on Mathematics Education, Copenhagen, Denmark.

National Economic and Social Development Board. (2017). The Twelve Nation Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok : National Economic and Social Development Board. (In Thai)

Office of the National Education Commission. (2017). The Twelve National Education Plan (B.E. 2017-2036). Bangkok : Prikwarn Graphic. (In Thai)

Pipithkul, Y. (2002). Teaching and Learning of Mathematics in Education Reform Era. Bangkok : Bophit Printing. (In Thai)

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2012). Measurement and Evaluation Learning Mathematics. Bangkok : SE-EDUCATION. (In Thai)

Underhill, R. G. (1991). Two Layers of Constructivist Curricular Interaction. In E. von Glasersfeld (ed.), Radical Constructivist in Mathematics Education, pp. 229-248. The Natherlands : Kluwer Academic.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-01

How to Cite

ลาภยิ่งยง ม. (2019). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนคณิตศาสตร์เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ และความคงทนของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 13(3), 44–56. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.44