ประสิทธิผลการนำนโยบายการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดิน ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2019.53คำสำคัญ:
ประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ, นโยบายการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดิน, พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น ปัญหา และแนวทางการพัฒนาประสิทธิผล การนำนโยบายการเร่งรัดการออกโฉนดที่ดินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ ประชากรคือผู้ที่ได้รับมอบหมายและแต่งตั้งให้ปฏิบัติตามโครงการเพิ่มประสิทธิภาพเดินสำรวจเพื่อแก้ไขปัญหาการออกหนังสือและแสดงสิทธิในที่ดินในบริเวณพื้นที่นอกเขตอุดทยานแห่งชาติบูโด-สุไงปาดี พ.ศ. 2558-2561 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงเฉพาะอัตราลูกจ้าง (จ้างเหมาบริการ) จำนวน 256 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องมากกว่า 0.50 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 ทั้งฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์การคัดเลือก จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลแบบหาข้อสรุปร่วมกับอภิปรายในลักษณะองค์รวม
ผลการวิจัยพบว่า ภาพรวมของประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับน้อยที่สุด ( =1.27, S.D.=0.26) และมีปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =4.71, S.D.=0.28) ได้ข้อค้นพบปัญหาที่สำคัญ 3 ด้าน คือ ด้านบุคลากร ด้านงบประมาณ และด้านวัสดุอุปกรณ์ แนวทางการพัฒนาประสิทธิผลการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ การปรับปรุงโครงสร้างการมอบอำนาจหรือการแต่งตั้ง ปรับปรุงข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนการเพิ่มขีดความสามารถของบุคลากรและหลักประกันคุณภาพชีวิต จัดสรรงบประมาณที่เพียงพอ รายงานผลการใช้จ่ายงบประมาณตามวัตถุประสงค์อย่างแท้จริง ใช้ประโยชน์พื้นที่ราชการเพื่อลดงบประมาณการเช่าพื้นที่ นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้และสร้างองค์ความรู้ให้กับผู้ปฏิบัติงาน และจัดหาวัสดุอุปกรณ์มาทดแทนสิ่งเก่าด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่
References
Department of Lands. (2015). Action Plan of Department of Lands Annual budget year 2559 B. E. Retrieved November 25, 2016, form https://www.dol.go.th/plan/DocLib2/actionplan_59 _edit_27112558.pdf (In Thai)
Department of Lands. (2016). Action Plan for Increasing Efficiency in Exploring Walkway to Solve Issues of Land Rights Issues in Areas Outside the Budo-Sungai Padi National Park, Fiscal Year 2016. Retrieved November 25, 2016, form https://www.dol.go.th/landdoc/DocLib/PLAN%20BUDO%202559.pdf (In Thai)
Hnuthong, C. (2017). An effectiveness of implementation of the Nationality Act (No. 5), B.E. 2555 with special emphasis on granting Thai citizenship to Thai diaspora in Mueang Ranong, Ranong Province. A Thesis for Master of Public Admisistration in Graduate School, Stamford International University (Thailand), Bangkok. (In Thai)
Likert, R. (1932). Archives of Psychology, 22(140), 1-55.
Rachkiccanubeksa. (2007). Constitution of the Kingdom of Thailand. Book 124, Episode 47, A. 24 August 2007. (In Thai)
Randall, B., & Grace, A. F. (1986). Policy implementation and bureaucracy. Chicago, Ill : Dorsey Press.
Sebring, R. H. (1977). The five-million dollar misunderstanding: A perspective on state government-university interorganizational conflicts. Administrative Science Quarterly, 505-523.
Tantivechayanon, P. (2015). The Study of the Eddectiveness of Drug Prevention and Suppression Policy Implementation in the Upper Northeasten Provinces. A thesis for doctor of public administration in publica administration, Graduate school, Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal patronage, Pathum Thani. (In Thai)