การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • หทัยชนก มากพูล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ณคุณ ธรณีนิติญาณ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.18

คำสำคัญ:

ประสิทธิภาพทางเทคนิค, สหกรณ์ออมทรัพย์, สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจ

บทคัดย่อ

   การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงานระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาได้แก่ สหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทยที่มีข้อมูลทุติยภูมิครบถ้วนระหว่างปี 2558-2560 จำนวน 21 แห่ง โดยใช้ตัวแปรทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ปัจจัยการผลิต ได้แก่ 1) เงินรับฝากจากสมาชิก 2) ทุน 3) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ 4) ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับอาคารสถานที่และอุปกรณ์ และปัจจัยผลผลิต ได้แก่ 1) ลูกหนี้เงินกู้ 2) ดอกเบี้ยรับเงินกู้ 3) รายได้อื่น ๆ โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา ด้วยวิธี Data Envelopment Analysis (DEA)

            ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพทางเทคนิคในการดำเนินงานของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย ในด้านปัจจัยผลผลิต ได้แก่ ลูกหนี้เงินกู้ ดอกเบี้ยรับเงินให้กู้ รายได้อื่น ๆ ส่วนด้านปัจจัยการผลิต ได้แก่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ คือ ค่าอบรมสัมมนา และจากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการดำเนินงานระหว่างสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย ภายใต้ตัวแบบ CRS พบว่า สหกรณ์ที่ตลอดระยะเวลา 3 ปี มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 1 มีจำนวน 4 สหกรณ์ คิดเป็น 19.05% ในภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยเท่ากับ 0.857 ในส่วนภายใต้ตัวแบบ VRS พบว่า สหกรณ์ที่ตลอดระยะเวลา 3 ปี มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 1 มีจำนวน 10 สหกรณ์ คิดเป็น 47.62% ในภาพรวมมีค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ย 0.910 จากตัวแบบ CRS และ VRS ค่าประสิทธิภาพโดยเฉลี่ยตามตัวแบบ CRS มีค่าน้อยกว่า VRS แต่อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทยสามารถที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยการพิจารณาเลือกใช้ปัจจัยการผลิตและปัจจัยผลผลิตให้เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

References

Avkiran, N. K. (1999). The evidence on efficiency gain: The role of mergers and the benefits to the public. Journal of Banking and Finance, 23(7), 991-1013. (In Thai)

Charnes, A., & Cooper, W. W. (1990). Data Envelopment Analysis. In: H.E. Bradley (Ed.). Operational Research, 90, 641-646.

Cheamuangphan, A., Singhavara, M., Tunsuchad, R., Panmanee, C., Bhackdee, K., & Rinkam, C., (2012). Economic Dfficiency of Saving groups in upper Northern Region. Maejo University, Chiang Mai. (In Thai)

Coelli, T. R., Rao, D. S., & Battese, G. E. (1997). An Introduction to Efficiency and Productivity Analysis. Boston : Kluwer Academic Publishers.

Cooperative Auditing Department. (2017). Financial Information Center. Financial database. Financial information of cooperatives/farmer groups. Retrieved September 30, 2017, from http:// ww.cad.go.th/cad2005/Cad_search/con_show/inance_status.php (In Thai)

Puttakul, W. (1995). Data Envelopment Analysis. Journal of Economics Kasetsart University, 2(1), 113-119. (In Thai)

Unthong, A. (2004). Manual contraction program 2.1 for performance analysis with methods Deta Envelopment Analysis. Social Research Institute Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai)

Verasoontorn, N. (2015). 38 years of The saveing and credit Cooperative of Royal Thai Police Headquarters Limited. Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-01-01

How to Cite

มากพูล ห., & ธรณีนิติญาณ ณ. (2020). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ตำรวจในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(1), 219–230. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.18