องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง

องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ศักดิ์ระภีร์ วรวัฒนะปริญญา คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.23

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตในการทำงาน, ความยึดมั่นผูกพันในงาน, อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

บทคัดย่อ

       

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทำงาน ระดับความยึดมั่นผูกพันในงาน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ประโยชน์ที่ได้รับจากการวิจัยครั้งนี้คือผู้บริหารที่เกี่ยวข้องในองค์การจะได้นำไปกำหนดแนวทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์ให้สอดคล้องกับคุณภาพชีวิตในการทำงานและความยึดมั่นผูกพันของพนักงาน กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง จำนวน 370 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม คำนวณหาดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (Item objective Congruence : IOC) ซึ่งได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.66-1.00 นำแบบสอบถามไปทดลองใช้กับกลุ่มทดลอง แล้วนำมาคำนวณหาค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ ได้เท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพชีวิตในการทำงานโดยภาพรวมของพนักงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีคุณภาพชีวิตในการทำงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านพฤติกรรมของหัวหน้างาน ด้านความสมดุลระหว่างงานและชีวิตส่วนตัว ด้านลักษณะงาน และด้านรายได้และประโยชน์ตอบแทน สำหรับความยึดมั่นผูกพันในงานโดยภาพรวม พบว่ามีความยึดมั่นผูกพันในงานอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความยึดมั่นผูกพันในงานอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านความจดจ่อใส่ใจ ด้านความกระตือรือร้น และด้านความทุ่มเทอุทิศตนให้กับงาน ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน พบว่ามีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางถึงมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.61-0.73 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.82 ค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) มีอำนาจในการพยากรณ์รวมเท่ากับร้อยละ 68.20

References

Avci, N. (2017). The relationship between coworker supports, quality of work life and wellbeing: an empirical study of hotel employees. International Journal of Management Economics & Business, 13(3), 577-589. http://dx.doi.org/10.17130/ijmeb.2017331328

Bank of Thailand. (2019). Business Outlook Report Q3/2019. Retrieved November 2, 2019, from https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/EconomicConditions/BLP/BLP_TH_Q3_2019_tf0kr6bl.pdf (in Thai)

Chapman, E. F., Sisk, F. A., Schatten, J., & Miles, E. W. (2018). Human resource development and human resource management levers for sustained competitive advantage: Combining isomorphism and differentiation. Journal of Management and Organization, 24(4), 533-550. http://dx. doi.org/10.1017/jmo.2016.37

Choochom, O. (2014). AN analysis of work engagement construct. UMT-Poly Journal, 11(2), 75-79. (in Thai)

Dechawatanapaisal, D. (2017). The mediating role of organizational embeddedness on the relationship between quality of work life and turnover. International Journal of Manpower, 38(5), 696-711.

Department of Industrial Works, Ministry of Industry. (2019). Factory information. Retrieved November 17, 2019, from http://www.diw.go.th/hawk/content.php?mode=data1search (in Thai)

Gilaninia, S. (2017). A conceptual model: The chain of quality of work life. Kuwait Chapter of the Arabian Journal of Business and Management Review, 6(5), 44-58.

I-Shuo, C. (2016). Examining the linkage between creative self-efficacy and work engagement. Baltic Journal of Management, 11(4), 516-534. http://dx.doi.org/10.1108/BJM-04-2015-0107].

Kriangchaiporn, N., & Laohavichien, U. (2019). The relationships between the level of quality of work life, Organizational commitment and the work behavior of employees at the Provincial Waterworks Authority. Rajapark Journal, 13(30), 71-82.

Labour Market Information Administration Division, Department of Employment, Ministry of Labour. (2019). Unemployment and dismissal situations. Retrieved November 2, 2019, from https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/lmia_th/dd8718b6bfcf651c760fa8195cdf6e41.pdf (in Thai)

Lathabhavan, R., Senthil, A. B., & Natarajan, T. (2017). A psychometric analysis of the utrecht work engagement scale in indian banking sector. Industrial and Commercial Training, 49(6), 296-302. http://dx.doi.org/10.1108/ICT-04-2017-0031.

Likert, R. A. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 140, 5-53.

Pasunon, P. (2014). Sample Size Determination from Krejcie and Morgan (1970) Approach in Quantitative Research. The Journal Of Faculty Of Applied Arts, 7(2), 112-120. (in Thai)

Provincial Labour Office, Rayong Province. (2019). Rayong Labour Situation 3rd Quarter Year 2019. Retrieved December 2, 2019, from https://rayong.mol.go.th/news_group/labour_situation (in Thai)

Putra, E. D., Cho, S., & Liu, J. (2017). Extrinsic and intrinsic motivation on work engagement in the hospitality industry: Test of motivation crowding theory.Tourism and Hospitality Research, 17(2), 228-241. doi:http://dx.doi.org/10.1177/1467358415613393.

Rahmani, M., & Eghbali, A. (2018). Examining the moderating role of corporate social responsibility in the relationship between socially responsible consumption and quality of work life (QWL) of the staff in social security organization. Marketing and Branding Research, 5(1), 64-77. doi:http://dx.doi.org/10.19237/MBR.2018.01.07

Sahni, J. (2019). Role of quality of work life in determining employee engagement and organizational commitment in Telecom Industry. International Journal for Quality Research, 13(2), 285-300. doi-10.24874/IJQR13.02-03.

Schaufeli, W. B., Salanova, M., González-Roma, V., & Bakker, A. B. (2002). The measurement of engagement and burnout: A confirmative analytic approach. Journal of Happiness Studies, 3(1), 71-92.

Silpcharu, T. (2017). Research and statistical analysis with SPSS and AMOS (17th ed.). Bangkok : S.R. Printing. (in Thai)

Social Security Office. Ministry of Labour. (2020). Social security fund statistics. Retrieved November 13, 2019 from sso.go.th/wpr/main/knowledge/ข้อมูลสถิติกองทุนประกันสังคม_category_list-label_1_168_0# (In Thai)

The Office of Industrial Economics, Ministry of Industry. (2017). 10 target industries Economic drive mechanism for the future. Retrieved November 13, 2019, from http://www2. oie.go.th/publications/other (in Thai)

_______. (2019 b.). Industry Economic Situation Report September 2019. Retrieved November 2, 2019, from http://www.oie.go.th/assets /portals/1/fileups/2/files/month/industryeconomics situationreportsep2019.pdf (in Thai)

_______. (2019a.). Report of the industrial economy in the 3rd quarter of 2019 and the trend of the 4th quarter of 2019. Retrieved November 2, 2019, from http://www2.oie.go.th/ academic/industryoverview (in Thai)

Vanichbuncha, K. (2016). Statistical Analysis : Statistics for Administration and Research (16th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (in Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

วรวัฒนะปริญญา ศ. (2020). องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงานของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง: องค์ประกอบคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันในงาน ของพนักงานระดับปฏิบัติการในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ จังหวัดระยอง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 30–43. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.23