การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอีสานด้วยดัชนี Location Quotient (LQ)

ผู้แต่ง

  • จักรกฤช เจียวิริยบุญญา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • นรชิต จิรสัทธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • วณัธชยา สุทธา มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.47

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจไทย, เศรษฐกิจอีสาน, LQ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจของภาคตะวันเฉียงเหนือ หรือ ภาคอีสาน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 ถึง 2559 ด้วยดัชนี Location Quotient Index (LQ) เพื่อให้เห็นถึงลักษณะความเชี่ยวชาญของสาขาการผลิตในรายจังหวัด ผลการวิจัยแสดงว่า รูปแบบการเปลี่ยนแปลงของความเชี่ยวชาญสามารถถูกจัดได้ 3 กลุ่ม 1) กลุ่มจังหวัดที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความเชี่ยวชาญรายสาขา 2) กลุ่มจังหวัดที่ความเชี่ยวชาญรายสาขาเปลี่ยนแปลงแต่ยังเชื่อมโยงกับความเชี่ยวชาญเดิม เช่น จังหวัดอุบลราชธานีที่เปลี่ยนแปลงจากภาคอสังหาริมทรัพย์ไปสู่กิจกรรมบริหารและการบริการสนับสนุน และ 3) กลุ่มจังหวัดที่มีการเปลี่ยนแปลงความเชี่ยวชาญรายสาขาในลักษณะที่แตกต่างไปจากความเชี่ยวชาญเดิมอย่างชัดเจน เช่น จังหวัดอุดรธานีที่เปลี่ยนแปลงจากกิจกรรมที่พักและบริการอาหารไปเป็นกิจกรรมเหมืองแร่ ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายคือ ผู้กำหนดนโยบายควรนำความเชี่ยวชาญรายจังหวัดเข้ามาร่วมพิจารณาในการทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคอีสาน ข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยในอนาคตคือ การต่อยอดผลการศึกษาที่ไปสู่การวิเคราะห์จุดด้อยและจุดแข็งของแต่ละจังหวัด ด้วยการเพิ่มเติมรายละเอียดเกี่ยวกับปัจจัยเชิงสถาบันที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัด และการใช้วิเคราะห์ Shift-Share เพื่อออกแบบการวิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบระหว่างความเชี่ยวชาญของจังหวัดกับแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจของทั้งภูมิภาคและประเทศ

References

Ativanichayapong, N. (2014). Livelihood of People in Rural Isan: Changes over the Past Decade, Journal of Sociology and Anthropology, 33(2), 103-127. (in Thai)

Beung Kan Province Establishment Act. (2011). The Royal Thai Government Gazette. Vol 128 Section 18 Kor Kai. (In Thai)

Ekkasart, E., Hongthai, S., Poontawee, W., & Dajtanon, I. (2016). The Economic Development Strategies in the Nakhon Ratchasima Area to Prepare for Joining the ASEAN Economic Community. Nakhon Phanom University Journal, 6(1), 87-96. (in Thai)

Habibullah, M. S., & Radam, A. (2009) Industry Concentration in Rich and Poor States in Malaysia: Location Quatient and Shift Share Analyses. The Icfai University Journal of Industrial Economics, 1(1), 56-65

Haggett, P. (1965). Locational Analysis in Human Geography. Edward Arnold : London.

Ministry of Labour. (2009). Thailand Standard Indutrial Classification. Retrieved January 4, 2019, from https://www.doe.go.th/prd/assets/upload/files/vgnew_th/d8a88846bfef391bbf 9602fe0ba18d1b.pdf (in Thai)

Ouyyanont, P. (2017). Isan Economy Development and Change. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (in Thai)

Promoakping, B., Inmueng, Y., & Phongsiri, M. (2019). Khon Kaen City: Growth, Challenges, and Opportunities. Nonthaburi : Sue Tawan Press. (in Thai)

Tananuchittikul, J. (2014). Analysis of Northern Region’s Economic Specialization: Implication from being AEC. Chaingmai University Journal of Economics, 18(2), 3-25. (in Thai)

Teerasatwat, S. (2003). Isan Cummunity Econnomy: Economic History of Isan Villages Post-WWII to present (1945-2001). Humanities and Social Sciences, 30(April-June 2012), 30-39 (in Thai)

Tienwong, K., & Pansuwan, A. (2012). Regional Idustrial Specialization under Decentralization Policy in Thailand. Academic Research International, 3(2), 32-42. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

เจียวิริยบุญญา จ., จิรสัทธรรม น., & สุทธา ว. (2020). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจอีสานด้วยดัชนี Location Quotient (LQ). วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 87–100. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.47