การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรม การสอนอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรม การสอนอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • สิริกานต์ ไขยสิทธิ์
  • ณรงค์ สมพงษ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.32

คำสำคัญ:

การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, ระบบการสอนอัจฉริยะ, พฤติกรรมการคิดสร้างสรรค์, ทักษะการคิดสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะ 2) พัฒนาระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และ 3) ประเมินผลการใช้งานระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะด้วยรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) รูปแบบการเรียนรู้ 2) แบบประเมินความเหมาะสมรูปแบบการเรียนรู้ 3) ระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้ 4) แบบประเมินคุณภาพระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้ 5) แบบวัดพฤติกรรมการคิดสร้างสรรค์ 6) แบบประเมินทักษะการคิดสร้างสรรค์ และ 7) แบบวัดระดับความพึงพอใจของนักศึกษาหลังจากเรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ผลการสถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test (Paired sample test)

            ผลการวิจัยพบว่า 1) การวิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ บนระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ ภายในรูปแบบมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ระบบการสอนอัจฉริยะ และทักษะการคิดสร้างสรรค์ และผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม อยู่ในระดับดีมาก 2) ระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้ มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก และ 3) การประเมินผลการเรียนรู้จากการใช้งานระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้ พบว่า พฤติกรรมการคิดสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ระดับทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษา อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X} =4.61) และนักศึกษามีความพึงพอใจต่อระบบนวัตกรรมการสอนอัจฉริยะตามรูปแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ( gif.latex?\bar{X}=4.40)

References

Chaiyasit, S. (2016). A Study Requirements the use of Smart Innovation System for Teaching and Learning to Develop Creativity of Undergraduates. Journal of Educational Technology, Special Issue for INTE 2016, 147-157. (In Thai)

Chang, Y. (2013). Student technological creativity using online problem-solving activities. International Journal of Technology and Design Education, 23, 803–816.

Iamsiriwong, O. (2014). System Analysis and Design. Bangkok : SE-EDUCATION Publishing, 101-115. (In Thai)

Journal of Suranaree Soc. Sci., 7, 101-117. (In Thai)

Kanchanachaya, N. (2016). Learning and teaching according to the creative problem solving process. SDU Research Journal, Humanities and Social Sciences, Institute of Research and Development, 12(3), 207-224. (In Thai)

Multimedia Technology. (2017). Multimedia Technology Program Curriculum, Bachelor of Education degree. Nakhonratchasima : Rajamangala University of Technology Isan. (In Thai)

Phanmanee, A., (2014). Selected activities for creative development of students in grade 1. Research report. Strategy and Integrated Education Group Office of Strategic Management and Educational Integration Office Permanent Secretary, Ministry of Education, Bangkok. (In Thai)

Phuwiphatawat, S. (2001). The student centering and actual assessment. Chiang Mai : The knowledge Center Publishing. (In Thai)

Phuworawan, Y. (2015). Innovative teaching and learning system 4.0. Journal Suranaree of Technology. Suranaree of Technology University, 133-156. (In Thai)

Ruechaiphanich, W. (2013) Learning and Teaching Creative Based. Retrieved October 12, 2017, from http.//eduzones.com/creativeplus/profile.php (In Thai)

Sattayakitkajorn, S. (2014). Learning Model Via Internet Based on Collaborative Learning Method an Affecting Creative Thinking of Undergraduate Student. Journal of AL-NUR, 10(19), 155-166. (In Thai)

Seechaliao, T. (2010). A proposed model of instructional design and development based on engineering creative problem solving principles to develop creative thinking skills of undergraduate engineering students. Thesis, Doctor of Education degree in Curriculum and Instruction, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Surarochprajak, P. (2015). Development of problem solving process by integrating the concepts of challenge-based learning and strategic planning process to enhance creative problem solving ability of primary school students. Thesis, Doctor of Education degree in Curriculum and Instruction, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Thepreanu S., Mr. (2017, 20-22 April). Educator. Seminar. (InThai)

Yathongchai, W. (2013). An Intelligent Tutoring System: Innovation for Next Generation Learning.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

ไขยสิทธิ์ ส., & สมพงษ์ ณ. (2020). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรม การสอนอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี: การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้โดยใช้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์บนระบบนวัตกรรม การสอนอัจฉริยะ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 148–162. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.32