การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี

การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี

ผู้แต่ง

  • รัฐสภา แก่นแก้ว
  • ณรงค์ สมพงษ์
  • ณัฐพล รำไพ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.35

คำสำคัญ:

ห้องเรียนกลับด้าน, การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน, ผลงานสร้างสรรค์, นิเทศศาสตร์

บทคัดย่อ

     การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี (FCBL Model) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์องค์ประกอบ 2) พัฒนาระบบการเรียนการสอน และ 3) ศึกษาผลการใช้ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม 30 คน ใช้เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดพฤติกรรมการเรียนรู้ สำหรับผู้สอนใช้ประเมินผู้เรียน สำหรับผู้เรียนใช้ประเมินตนเอง และแบบประเมินผลงานสร้างสรรค์ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบที และใช้การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยวิธีของเพียร์สัน

            ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบ ประกอบด้วยห้องเรียนกลับด้าน การเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน และผลงานสร้างสรรค์ ที่มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.81) 2) ระบบการเรียนการสอน มีคุณภาพในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X} =4.63) และ 3) กระบวนการเรียนรู้ สามารถส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรีให้สูงขึ้น โดยมีค่าเฉลี่ยของคะแนนผลงานสร้างสรรค์หลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลงานสร้างสรรค์โดยรวม (r=0.708) ในขณะที่พฤติกรรมการเรียนรู้โดยรวมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับผลงานสร้างสรรค์ด้านความแปลกใหม่ (r=0.649) ด้านการแก้ไขปัญหา (r=0.621) และด้านความละเอียดลออและการสังเคราะห์ (r=0.700) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

Bergmann, J. & Sams, A. (2012). Flip Your Classroom: Reach Every Student in Every Class Every Day. Alexandria: International Society for Technology in Education, 55-58.

Besemer, S. P. (2006). Creating Product's in the Age of Design: How to Improve Your New Product Ideas. Stillwater, OK : New Forums Press.

Hongkhunthod, A. (2015). Development of a Flipped-Classroom Learning System Model through Three Media Formats in Music Skills for Secondary School Students. Thesis, Doctor of Philosophy degree in Educational Communication and Technology, Kasetsart University, Bangkok. (In Thai).

Jetsadawiroj, S. (2017). Learning Process of Creativity-Based Learning (CBL) in the CEE2205 (Creativity for Children) Course. Kasetsart Educational Review, 32(2), 1-8. (In Thai)

McGrath, R. G., & MacMillan, I. (2000). The entrepreneurial mindset: Strategies for continuously creating opportunity in an age of uncertainty. Boston : Harvard Business School Press.

Michaelsen, L. K., et al. (2014). Team-based learning practices and principles in comparison with cooperative learning and problem-based learning. Journal on Excellence in College Teaching, 25(3-4), 232.

Rasmussen, E. A., & Sörheim, R. (2006). Action-based entrepreneurship education. Technovation, 26(2), 185-194.

Roach, T. (2014). Student perceptions toward flipped learning: New methods to increase interaction and active learning in economics. International Review of Economics Education, 17(September 2014), 74-84.

Roehl, A., Reddy, S. L., & Shannon, G. J. (2013). The Flipped Classroom : An Opportunity to Engage Millennial Students through Active Learning. Journal of Family and Consumer Sciences, 105(2), 44-49.

Ruechaipanit, V. (2015). Creativity-based Learning : CBL. Journal of Learning Innovations Walailak University, 1(2), 26-30. (In Thai)

Solomon, G. T., Duffy, S., & Tarabishy, A. (2002). The state of entrepreneurship education in the United States : A nationwide survey and analysis. International Journal of Entrepreneurship Education, 1(1), 65-87.

Suwan, W. (2017). The Internal Supervision Research were Used Coaching Techniques by lens for their Creativity Base Learning (CBL) on Moderate Class, More Knowledge Activity at bantungkoayoun School. Research Report. Trang Primary Educational Service Area Office 1 Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (In Thai).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

แก่นแก้ว ร., สมพงษ์ ณ., & รำไพ ณ. (2020). การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี: การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยกระบวนการเรียนรู้แบบสร้างสรรค์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานของนักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ในระดับปริญญาตรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 189–203. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.35