การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่อง หัวนายแรง

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่อง หัวนายแรง

ผู้แต่ง

  • รัชฌกร พลพิพัฒน์สาร
  • นราพงษ์ จรัสศรี

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.31

คำสำคัญ:

รูปแบบการสร้างสรรค์นาฏยศิลป์, วรรณกรรมพื้นบ้าน, หัวนายแรง, ภาคใต้

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบการสร้างสรรค์งานนาฏยศิลป์จากวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่อง หัวนายแรง ใช้วิธีการศึกษาวิจัยเชิงสร้างสรรค์และวิจัยเชิงคุณภาพที่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัย ประกอบไปด้วย ข้อมูลเชิงเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์ สื่อสารสนเทศ การสัมมนา เกณฑ์มาตรฐานศิลปิน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า รูปแบบการแสดงประกอบไปด้วย องค์ประกอบทางด้านนาฏยศิลป์ 7 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง โดยใช้หลักของการเขียนบทละครเวทีร่วมสมัย ซึ่งมีการวางโครงเรื่องเป็นตอน แนวคิดแบบคอลลาจในการจัดวางบท ผสมผสานกันระหว่างบทของนาฏยศิลป์ และบทการกระทำ 2) ลีลานาฏยศิลป์ ออกแบบลีลานาฏยศิลป์ตามบทการแสดง เน้นการถ่ายทอดอารมณ์ผ่านสายตา ร่างกาย และการกระทำ 3) การคัดเลือกนักแสดง ใช้นักแสดง ที่มีทักษะที่หลากหลายด้าน 4) การออกแบบเสียงและดนตรี ซึ่งผู้วิจัยใช้เสียง 3 ประเภท เสียงนักแสดงที่มีบทร้อง และเสียงตามความรู้สึก เสียงประกอบการแสดง และเสียงดนตรีประกอบการแสดง 5) การออกแบบฉาก ผ่านอุปกรณ์เทคนิคการฉายภาพ และภาพในรูปแบบของเกมส์ 6) การออกแบบเครื่องแต่งกาย คำนึงถึงแนวคิดเอกลักษณ์ของบริบทพื้นที่กำเนิดของวรรณกรรมทางภาคใต้ รวมไปถึงขนบ (พิธีกรรม) ขนบธรรมเนียมประเพณี 7) การออกแบบแสง ให้สอดคล้องกับการฉายภาพประกอบการแสดง ฉาก อารมณ์และเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการแสดง ผสมผสานกับหลักการหักเหของแสง

References

Binson, B. (2011). Southern Music Artists Knowledge Rituals and Beliefs. Bangkok : Chulalongkorn Publishing. (In Thai)

Charassri, N. (February 18, 2019). Professor at Dance Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Chulalongkorn University. Interview. (In Thai)

Duangchana, A. (2558). Tracing the Raserch on Southern Culture. Chaingmai : Department of Socioology and Anthropology. Research report. Chaingmai : Faculty of Social Sciences Chaingmai University. (In Thai)

Jiwakanon, R. (2014). The Art of Costume Design. Bangkok : Chulalongkorn Publishing. (In Thai)

Mumford, D. e. (2010). Creativity and Ethics: The Relationship of Creative and Ethical Problem-Solving. Creativity Research Journal, 22(1), 74-89.

Padungsestakit, W. (2019). The Creation of a Performance Script from Keinnara in the Tai Yai’s Folk Tale. Suan Sunandha Academic and Research Review, 13(2), 1-18. (In Thai)

_______. (July 22, 2019) Assistant Professor of Theatre Arts Program, Faculty of Fine and Applied Arts, Suan Sunandha Rajabhat University. Interview. (In Thai)

Pattarasuk, W. (2014). Research Methodology the Social Sciences. Bangkok : Chulalongkorn Publishing. (In Thai)

Seesupon, N. (2015). The art of traditional Thai dance from tha folk literature entitled U-Sa Baros in the Thai cultural context. Institute of Cilture and Arts Journal, 7(1), 76-83. (In Thai)

Thitathan, S. (2016). Creative folklore : dynamics and application of folklore in contemporary Thai society. Bangkok : The Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre. (In Thai)

Veohong, N. (2015). Introduction to Dramatic Arts. Bangkok : Chulalongkorn Publishing. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

พลพิพัฒน์สาร ร., & จรัสศรี น. (2020). การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่อง หัวนายแรง: การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์จากวรรณกรรมพื้นบ้าน เรื่อง หัวนายแรง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 135–147. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.31