ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเงินกู้ของเทศบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเงินกู้ของเทศบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.37คำสำคัญ:
การบริหารเงินกู้, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, เทศบาลเมือง, เทศบาลตำบลบทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเงินกู้ของเทศบาลในจังหวัดกาฬสินธุ์ ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธี โดยมีการดำเนินการสองระยะ ในระยะแรกใช้วิธีการเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นข้าราชการสังกัดเทศบาล 5 แห่งในจังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 284 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิอย่างเป็นระบบ (Stratified systematic sampling) ใช้แบบสอบถามการบริหารเงินกู้ของเทศบาลเป็นเครื่องมือ โดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช 0.984 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติวิเคราะห์ถดถอยพหุ แล้วนำประเด็นสำคัญจากเชิงปริมาณมาศึกษาในระยะที่สองใช้วิธีการเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือผู้ทีมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการบริหารเงินกู้ของเทศบาลที่มีการกู้เงินมากที่สุด 5 เทศบาล จำนวน 25 คน ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการสัมภาษณ์และผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 1 ท่าน ใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อช่วยอธิบายประเด็นสำคัญ ผลการศึกษา พบว่า มี 4 ปัจจัย ที่ส่งผลต่อการบริหารเงินกู้เทศบาลจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้แก่ 1) เศรษฐกิจและสังคมในระดับท้องถิ่น 2) ทัศนคติและประสบการณ์การกู้เงิน 3) โครงสร้างการบริหารเงินกู้ของเทศบาล และ 4) ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ ผลการวิจัยได้ชี้ให้เห็นถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารเงินกู้ของเทศบาลให้เกิดประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และความคุ้มค่า เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการบริหารเงินกู้ของเทศบาลอื่น ๆ ต่อไป
References
Gruoysawat, S. (2014). Guidelines for increasing the local debt generation potential for the performance of fiscal management. Bangkok : Thailand Research Fund. (In Thai)
Kalasin Province Office for Local Administration. (2015). Report of data on loans and outstanding debt of the local administrative organizations in 2015. Kalasin : Author. (In Thai)
Kherthep, W., Nudam, J., & Temtaveevut, A. (2015). The practices of local government borrowing in Thailand. Thammasat Journal, 34(1), 51-76. (In Thai)
Klinpo, P. (2013). The system of local government borrowing : Case study of Uttaradit. Bangkok : National Institute of Development Administration. (In Thai)
Patmasiriwat, D. (2014). Local finance : The collection of research articles for Increasing local power (5th ed.). Bangkok : P. A. Living. (In Thai)
Prasitratasin, S. (2012). Social sciences research methodology (15th ed.). Bangkok : Samlada. (In Thai)
Ritjaroon, P. (2013). Principle of educational measurement and evaluation (8th ed.). Bangkok : House of Kermyst. (In Thai)
Singsee, K. (2015). Indebtedness of local government organization in Thailand. Research and Development Journal Suan Sunandha Rajabhat University, 7(1), 176-186. (In Thai)
Sittiyot, T., Likittrakoolwong, T., Samlet, P., & Wansuksai, S. (2015). Indebtedness and debt status of local government organization: Implications for fiscal sustainability. Thammasat Economic Journal, 33(1), 1-23. (In Thai)
Srisa-ard, B. (2012). Curriculum development and research. Bangkok : Suveeriyasarn.
Suwathee, P. (2009). Sample surveys : Sampling designs and analysis. Bangkok : Research and Development of Academic Document Projects, National Institute of Development Administration. (In Thai)
Teddlie, C., & Tashakkori, A. (2009). Foundations of mixed methods research: Integrating quantitative and qualitative approaches in the social and behavioral sciences. London : Sage.
Thaveerat, P. (2000). Research methodology in behavioral sciences and social sciences (8th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)