แนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้

ผู้แต่ง

  • สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • วิลารักข์ อ่อนสีบุตร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รุ่งทิวา พลแสน มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.43

คำสำคัญ:

ความสุขในการทำงาน, บุคลิกภาพ, สัมพันธภาพในครอบครัว, บรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของบุคลิกภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว และบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ที่มีต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ และเสนอแนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ จากปัจจัยด้านบุคลิกภาพ สัมพันธภาพในครอบครัว และบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ระเบียบวิธีวิจัยในการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบผสม ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 326 คน ทดสอบสมมติฐานการวิจัยโดยอาศัยเทคนิคการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิงชั้น ในขณะที่การวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 18 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์จัดกลุ่มแนวคิด ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลกระทบเชิงบวกต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ประกอบด้วย 1) กลุ่มปัจจัยบุคลิกภาพ ได้แก่ บุคลิกภาพแบบเปิดเผย บุคลิกภาพแบบมีความรับผิดชอบ และบุคลิกภาพแบบมีความมั่งคงทางอารมณ์ และ 2) กลุ่มปัจจัยบรรยากาศองค์การแบบธรรมาภิบาล ได้แก่ โครงสร้างตามหลักธรรมาภิบาล มาตรฐานตามหลักธรรมาภิบาล และการสนับสนุนตามหลักธรรมาภิบาล ในขณะที่ ความผูกพันตามหลักธรรมาภิบาลมีผลกระทบเชิงลบต่อความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในท้ายที่สุด ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุนในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้ ประกอบด้วย การจัดกิจกรรมสานสัมพันธ์ การสนับสนุนการพัฒนาความก้าวหน้าทางอาชีพ การจัดโครงสร้างการทำงานให้บุคลากรมีหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจนตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย การจัดสรรงบประมาณวัสดุอุปกรณ์และกำลังคนอย่างสมเหตุสมผล การลดระบบอุปถัมภ์ในที่ทำงาน เป็นต้น

Author Biography

สิริภาพรรณ ลี้ภัยเจริญ, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์

References

Aziz, R., Mustaffa, S., Samah, N. A., & Yusof, R. (2014). Personality and Happiness among Academicians in Malaysia. Procedia-Social and Behavioral Science, 116(2014), 4209-4212.

Chantavanich, S. (2016). Qualitative research method (13th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Chompikul, J., Suthisukon, P., Sueluem, K., & Dammee, D. (2009). Relationship in Thai families. Nakhon Pathom: ASEAN Institute for Health Development, Mahidol University. (In Thai)

Chotanachote, K. (2017). Governance Based on Good Governance Principles of Mahidol University. Journal of Professional Routine to Research, 4(8), 67-75. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological test (5th ed.). New York: Harper Collins.

Goel, D., & Singh, M. (2015). Personality and Employee Happiness: A Study of Working Women in Delhi/NCR. Indian Journal of Health and Wellbeing, 6(2), 143-147.

Hair, J. F. Jr., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2019). Multivariate data analysis (8th ed.). Hampshire: Cengage Learning EMEA.

Leephaijaroen, S., Onsibutr, W., & Polsri, C. (2016). Guidelines of supporting staff’s service quality enhancement in South Northeast Rajabhat Universities from factors of emotional quotient and motivation to work. Research report. Ubon Ratchathani Rajabhat University, Ubon Ratchathani. (In Thai)

Mafini, C. (2016). The Contribution of Organizational Climate to Employee Well-Being. The Journal of Applied Business Research, 32(4), 1157-1167.

Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration, 33(12), 652-655.

Nantharojphong, K., & Jadesadalug, V. (2018). The Influences of Organizational Climate and Perceived Organizational Support Affecting Job Performance of the Employee in Manufacturing Industry: the Mediating Effect of Work Happiness. WMS Journal of Management, Walailak University, 7(1), 21-38. (In Thai)

Office of the Council of Rajabhat University Presidents of Thailand. (2018). The Rajabhat University strategy for local development for 20 Years (2017-2035) (Revised ed.). Bangkok : Office of the Council of Rajabhat University Presidents of Thailand. (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Board. (2017). The twelfth national economic and social development plan (2017-2021). Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Board, Office of the Prime Minister. (In Thai)

Robbins, S. P., & Judge, T. A. (2017). Organizational behavior (17th ed.). Essex : Pearson Education.

Sirijanyapong, W. (2013). Happiness in Work of Registered Nurses in Patient Department, Ramathibodi Hospital. Thesis, Master of Science degree in Public Health, Mahidol University, Nakhon Pathom. (In Thai)

Tirakanan, S. (2008). Developing variable measurement tool in social science research: guideline to practice (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Tongkaew, T., & Phasunon, P. (2017). Factor Influencing Happiness in Workplace of Academic Supporting Staff: Chandrakasem Rajabhat University. Verdian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and Arts), 10(1), 1943-1958. (In Thai)

Yamane, T. (1973). Statistics, an introductory analysis (3rd ed.). New York : Harper and Row.

Yoddumnern-Attig, B., & Tangchonlatip, K. (2009). Qualititive aata analysis: data management, interpretation and meaning inquiry. Nakhon Pathom : Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

ลี้ภัยเจริญ ส., อ่อนสีบุตร ว., & พลแสน ร. (2020). แนวทางการสร้างเสริมความสุขในการทำงานของบุคลากรสายสนับสนุน ในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏอีสานใต้. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 28–42. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.43