สำนึกทางกฎหมายของประชาชนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อการคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญา

สำนึกทางกฎหมายของประชาชนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อการคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญา

ผู้แต่ง

  • มงคล เจริญจิตต์ Law Program, Faculty of Humanity and Social Science , Nakhon Ratchasima Rajabhat University
  • สถิต จำเริญ
  • บุญนำ โสภาอุทก
  • พิทักษ์ชัย เดชอุดม
  • ตวงพร ปิยวิทย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.26

คำสำคัญ:

สำนึกทางกฎหมาย, คอร์รัปชั่น, ความผิดอาญา, ตำบลหมื่นไวย

บทคัดย่อ

     

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยการวิจัยเอกสาร เพื่อศึกษาประเภทของคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญา และการวิจัยภาคสนาม แบบปรากฏการณ์วิทยา เพื่อศึกษาลักษณะสำนึกทางกฎหมาย และวิเคราะห์รูปแบบสำนึกทางกฎหมายของประชาชนต่อการคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญาของประชาชน ประชากรคือ ประชาชนในเขตตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 2 กลุ่ม ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง โดยดำเนินการเก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มผู้นำ 18 คน และการสนทนากลุ่มจากกลุ่มประชาชนทั่วไป 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา

            ประเภทของคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มการกระทำที่เป็นการคอร์รัปชั่นโดยตรง 9 ประเภท และกลุ่มกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับคอร์รัปชั่น 3 ประเภท รวมทั้งสิ้น 12 ประเภท คือ กลุ่มที่ 1 ได้แก่ 1) การยักยอกทรัพย์หรือเบียดบังทรัพย์สินของทางราชการ 2) การใช้อำนาจหน้าที่โดยทุจริต 3) การละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ 4) การเรียกรับสินบน 5) การขัดกันแห่งผลประโยชน์ 6) การเอื้อประโยชน์ 7) การใช้กำลังขู่เข็ญเจ้าพนักงาน 8) การเรียกรับเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน และ 9) การติดสินบนเจ้าพนักงาน ส่วนกลุ่มที่ 2 ได้แก่ 1) การฟอกเงิน 2) การไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน และ 3) การร่ำรวยผิดปกติ

            ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายคอร์รัปชั่น ส่วนมากเห็นว่าคอร์รัปชั่นส่งผลเสียหายต่อประชาชน สังคมและประเทศชาติ และต้องมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง ประชาชนมีการแสดงออกต่อคอร์รัปชั่น 5 ระดับคือ 1) การยอมรับหรือการรับได้ 2) การนิ่งเฉย 3) การรู้สึกต่อต้านแต่ไม่ดำเนินการอย่างใด 4) การดำเนินการอย่างไม่เป็นทางการ และ5) การดำเนินการด้วยวิธีการที่เป็นทางการโดยเหตุผลสำคัญของการไม่ดำเนินการที่สำคัญคือ การเกรงกลัวผลกระทบที่ตามมา ส่วนเหตุผลที่เลือกดำเนินการ คือ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของตนเอง สังคม และประเทศชาติ

References

Chantraniph, P. (2015). The Development of a Corruption Prevention Model in the Public Sector for Good Governance in Thai Society. KasemBundit Journal, 16(1), 88-101. (In Thai)

Charoensil, D. (2009). Legal Consciousness and the Role of Law in the Life of Disabled People. Thesis, Master of Laws in Faculty of Law, Chiangmai University, Chiang Mai. (In Thai)

Jaroenjit, M. (2008). Legal Consciousness of Small-Enterprise Workers.Master’sthesis,Faculty of Social Sciences,Chiangmai University. (In Thai)

Minakanit, T. (2013). Principle of Criminal Law: General Part. Bangkok : Winyuchon. (In Thai)

Watjanasawadi, K. (2001). Explanation of Criminal Law: Division 1. Bangkok : Thammasart University. (In Thai)

Bardhan, P.(1997).Corruption and Development: A Review of Issues. Journal of Economic Literature, 35(3), 1320-1346.

Carr, I. (2007). Fighting Corruption Through Regional and International. European Journal of Crime, Criminal Law and Criminal Justice, 15(2), 121-153.

Engel, D. M. (2005). Globalization and the Decline of Legal Consciousness: Torts, Ghosts, and Karma in Thailand.Law and Social Inquiry 30, 469-514.

Engel, D. M. & Munger, F. W.(2003). Rights of Inclusion: Law and Identity in the Life Stories of Americans with disabilities. Chicago: The University of Chicago Press.

Ewick, P., & Silbey, S. S. (1998). The Common Place of Law: Stories from Everyday Life. Chicago: University of Chicago Press. Retrieved September 30, 2017, form.http://blog.lawbore.net /2012/12/ucl-current-legal-problems-i-fought-the-law-and-the-law-won-legal-consciousness-legal-hegemony-the-critical-imagination-sean-knight/

Hertogh, M. (2004). A ‘European’ ConceptionofLegalConsciousness: Rediscovering Eugen Ehrlich. Journal of Law and Society 31 no.4,457-481.

Silbey, S. S. (2005). After Legal consciousness. Annual Review of Law and Social Science, 1, 323-368.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

เจริญจิตต์ ม., จำเริญ ส., โสภาอุทก บ., เดชอุดม พ., & ปิยวิทย์ ต. (2020). สำนึกทางกฎหมายของประชาชนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อการคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญา: สำนึกทางกฎหมายของประชาชนตำบลหมื่นไวย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ต่อการคอร์รัปชั่นที่เป็นความผิดอาญา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 69–83. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.26