การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ของครูประจำการ

ผู้แต่ง

  • น้องนุช ธราดลรัตนากร 0891888286
  • ณัฐพล รำไพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.59

คำสำคัญ:

การฝึกอบรมออนไลน์, ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม, เทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์, สมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ 2) พัฒนาเว็บฝึกอบรมตามรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึม และ 3) ศึกษาสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบสมัครใจ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ เว็บฝึกอบรมตามรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ และแบบประเมินสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบ t-test

            ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ตามแนวคอนสตรัค ติวิสซึม มีความเหมาะสมอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ปัจจัยนำเข้า (Input) ประกอบด้วย การฝึกอบรมออนไลน์ (Online training) และเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ (Interactive multimedia technology) กระบวนการ (Process) ประกอบด้วย การฝึกอบรม ที่เน้นให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้ลงมือกระทำ (Active training) การเรียนรู้ร่วมกัน (Collaboration) การชี้แนะ (Coaching) และผลผลิต (Output) ได้แก่ สมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี Computer and Technology Competency ประกอบด้วยความรู้ (Knowledge) ทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) เรียกรูปแบบนี้ว่า ACCOCO Model 2) เว็บฝึกอบรมตามรูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพอยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.50) 3) ผลของสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีของครูประจำการ พบว่า คะแนนทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการฝึกอบรมหลังใช้รูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ สูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีค่าดัชนีประสิทธิผลที่ 0.87 มีทักษะการปฏิบัติงาน (gif.latex?\bar{X}=4.77) และมีทัศนคติที่ดีในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.42)

References

Annapiroon, P., & Nilsook, P. (2011). Study aims at investigating the outcomes of blended learning modelby using cognitive tools in developing graduate students’ analytical thinking skills. Academic Services Journal, 22(3), 1-12. (In Thai)

Fongsri, P. (2010). Educational research (7th ed.). Bangkok : darnsutha press. (In Thai)

Goodman, R. I., Fletcher, K. A., & Schneider, E. W. (1980). The Effectiveness Index as a Comparative Measure in Media Product Evaluations. Educational Technology, 20(9), 30-34.

Louimsai, P. (2015). The Development of Online Training Packages on Using Moodle Program for Teachers and Educational Personnel. Thesis, Master of Education degree in Training Technology, Faculty of Education, Burapha University, Bangkok. (In Thai)

Piyakhun, M., & Lertthanaphol, S. (2008). The Development of E-Training Package : The Training Skill For the Supervisor. Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat University. (In Thai)

Rattaman, C. (2008). The Development of a Web-Based Training Model. Thesis, Doctor of Philosophy degree in Faculty of Human Resource Development, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Samat, C., & Chaijaroen, S. (2009). Design and Development of Constructivist Web-Based Learning Environment Model To Enhance Creative Thinking for Higher Education. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 3(2), 153-163. (In Thai)

Samngamya, P. (2014). Development of Synchronous Web-based Training Model Using Streaming Media Technology Based on the Constructivist Theory to Enhance Trainees’ Functional Competency. Thesis, Doctor of Education degree in Educational Technology, Department of Educational Technology, Kasetsart University. p. 265 (In Thai)

Smithikrai, C. (2015). Training of personnel in organizations (9th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Taradolrattanakorn, N., & Tanamai, S. (2016). The Study of Training Needs in Educational Innovation and Information Technology for Teachers in the Office of the Basic Education Commission. International Conference on New Horizons in Education (INTE) 2016, 1138-1141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

ธราดลรัตนากร น., & รำไพ ณ. (2020). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมออนไลน์ด้วยเทคโนโลยีมัลติมีเดียเชิงปฏิสัมพันธ์ ตามแนวคอนสตรัคติวิสซึมเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี ของครูประจำการ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 247–260. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.59