ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำ : ป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำ : ป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร

ผู้แต่ง

  • ภูมิชัย สุวรรณดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • อรรครา ธรรมธิกุล มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.28

คำสำคัญ:

การบังคับใช้กฎหมาย, พรุกะชิง, การบริหารจัดการและการอนุรักษ์

บทคัดย่อ

   

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะและสภาพปัญหาของการบุกรุกทำลายพื้นที่ป่าพรุกะชิง 2) ขอบเขตอำนาจหน้าที่และการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ป่าพรุกะชิง 3) เสนอแนะแนวทางมาตรการทางกฎหมายในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยเชิงเอกสาร และการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ กลุ่มผู้แทนองค์กรภาครัฐส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 4 คน นายกองค์การบริหารส่วนตำบลและเจ้าหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลปากคลอง จำนวน 5 คน และแบบสอบถามชุมชน จำนวน 50 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้กรอบวิเคราะห์ข้อมูลของ Mile and Huberman

            ผลการวิจัยพบว่า 1) หน่วยงานภาครัฐทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค มีการบังคับใช้กฎหมายตามที่กฎหมายให้อำนาจหน้าที่กำหนดไว้ 2) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและเห็นความสำคัญอย่างมากในพื้นที่ชุ่มน้ำที่ใช้เป็นแหล่งหากินและแหล่งที่อยู่อาศัย แต่มีประชาชนบางส่วนเห็นว่าการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ภาครัฐเกี่ยวกับการบริหารจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำมาหากินและที่อยู่อาศัยของชุมชน ประชาชนในพื้นที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับชุมชน ดังนั้นเพื่อให้การบริหารจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ชุ่มน้ำป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร เป็นไปตามวัตถุประสงค์งานวิจัยที่กำหนดไว้ คณะผู้วิจัยได้เสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นต้นแบบเพื่อการบริหารจัดการและการอนุรักษ์พื้นที่ป่าพรุกะชิงอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ป่าพรุกะชิงเพื่อประสิทธิภาพในการบังคับใช้กฎหมายมากยิ่งขึ้น

References

Department of Environmental Quality Promotion. (1999). The journal for appropriate natural resource management tittle Pa Toong Pa Tam. Bangkok: Ministry of Science, Technology and Environment and the Isan Region Committee of Natural Resource and Environment under the Coordinating Committee of Isan Private Organization for Rural Development. (In Thai)

Dugan, P., & Dugan, P. J. (Eds.). (1990). Wetland conservation : A review of current issues and required action. IUCN.

Mallikamal, S. (1999). The enforcement of environmental law (2nded.). Bangkok : Nititham. (In Thai)

Miles, M. B., & Huberman, A. M. (1994). Qualitative data nnalysis (2nd ed.). Thousand Oaks. CA : Sage Publications.

Office of Natural Resources and Environmental Policy and Planning, Ministry of Natural Resources and Environment. (2017). The physical condition of Ka-Ching swamp forest, Pa Tew, Chumpon province. Retrieved July 27, 2017, From http://wetland.onep.go.th/ 2551_8prukraching.html (In Thai)

Pak Klong Sub-district Administrative Organization. (2018). Pak Klong Sub-district Administrative Organization : General information. Retrieved February 8, 2019, From http://www.pkk. go.th/index2.html. (In Thai)

The Conference of the Parties 3. (1987). The wise use of wetlands is their sustainable utilization for the benefit of mankind in a way compatible with the maintenance of the natural properties of the ecosystem. Meeting in Regina, Canada.

Wildlife Fund Thailand under the Royal Patronage of H.M. the Queen. (2011). Animals and plants in wet land areas. Retrieved May 2, 2018, From http://www.wildlifefund.or.th/wetlands_2.html (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

สุวรรณดี ภ., & ธรรมธิกุล อ. (2020). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำ : ป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร: ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายเพื่อการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ พื้นที่ชุ่มน้ำ : ป่าพรุกะชิง อำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 95–107. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.28