การศึกษาและพัฒนารูปแบบเพื่อเสริมสร้างความสุขจากปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสุข ของผู้สูงอายุ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.45คำสำคัญ:
ความสุข, ผู้สูงอายุ, รูปแบบ, ปัจจัยที่มีอิทธิพลบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อค้นหาคุณลักษณะภายใน ศึกษาอิทธิพลของปัจจัยที่มีต่อความสุข และเสริมสร้างความสุขของผู้สูงอายุ อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วยผู้ให้ข้อมูลหลัก 15 คน กลุ่มตัวอย่าง 390 คน จากการสุ่มอย่างง่าย ที่กำหนดโควตาจำนวนกลุ่มตัวอย่างในแต่ละตำบล และกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมรวม 36 คน เครื่องมือวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง, แบบวัด ได้แก่ แบบวัดความสุข แบบวัดการดูแลสุขภาพ แบบวัดสุขภาพจิต และแบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง โดยมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.881, 0.850, 0.785 และ 0.641 ตามลำดับ, ชุดความรู้กายดีมีสุข และแบบวัดความรู้ โดยผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะภายในของผู้สูงอายุ ที่มีความสุข มี 6 คุณลักษณะ ได้แก่ สุขภาพกายดี สุขภาพจิตดี เห็นคุณค่าในตัวเอง คิดบวก มีชีวิตเรียบง่าย และมีความพอเพียง เมื่อทดสอบอิทธิพลพบว่าโมเดลมีความสอดคล้องในระดับดี การเห็นคุณค่าในตนเอง สุขภาพจิต และการดูแลสุขภาพตนเอง ทั้ง 3 อธิบายความแปรปรวนของความสุขได้ร้อยละ 55 เมื่อทำการเสริมสร้างความสุขด้วยชุดความรู้ในการดูแลสุขภาพตนเอง พบว่า ความรู้ในเรื่องการดูแลสุขภาพตนเองก่อนรับโปรแกรมกับหลังเข้ารับโปรแกรม รวมถึงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมและไม่ได้รับโปรแกรม แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 ซึ่งปัจจัยที่พบมีผลต่อความสุข และสามารถใช้เพื่อพัฒนาความสุขของผู้สูงอายุในพื้นที่ต่อไป
References
Aekakul, T. (2007). Research methodology in behavioral sciences and social sciences. Ubon Ratchathani : Ubon Ratchathani Rajabhat Institute. (in Thai)
Argyle, M., & Martin, M. (1991). The Psychological Causes of Happiness. Subjective well-being. An interdisciplinary perspective, 77-100.
Division of Mental Health Promotion and Development. (2012). 5-Dimensional Happiness Guide for the Elderly. Bangkok : Department of Mental Health. (in Thai)
Division of Mental Health Promotion and Development. (2017). Thai Geriatric Mental Health Assessment Tool (T-GMHA-15). Retrieved December 25, 2017, from http://www.sorporsor.com (In Thai)
Hutacharoen, A. (2011). Depression in the elderly. Bangkok : Institute of Psychiatry. (in Thai)
Orem, D. E. (1991). Nursing Concepts of Practice (4th ed.). St. Louis : Mosby-Year Book.c.
Phuttharaksa, L. (2010). Model of Developing Elder Care Taker Using Self Directed Learning and Knowledge Management Process. Thesis, Master of Art degree in Adult Education, Faculty of Education, Srinakharinwirot University, Bangkok. (in Thai)
Robrujen, S. (2017). Development of the Elderly Care Model for Elderly Caregivers, Warinchamrab District, Ubon Ratchathani Province. prince of naradhiwas university journal, 9(3), 57-69. (In Thai)
Rosenberg, M. (1989). Society and the Adolescent Self-Image (Rev. ed.). Middletown, CT : Wesleyan University Press.
Ryff, C. D., & Keyes, C. L. M. (1995). The Structure of Psychological Well-Being Revisited. Journal of Personality and Social Psychology, 69(4), 719-727.
Speak, D. L., Cowart, M. E., & Pellet, K. (1989). Health Perceptions and Lifestyles of the Elderly. Research in Nursing & Health, 12, 93-100.
Sumniengsanoh, N. (2013). Factors predicting Happiness Among Community-Dwelling Older Adults, Chachoengsao Province. Thesis, Master of Nursing degree in Gerontological Nursing, Faculty of Nursing, Burapha University, Chonburi. (in Thai)
Taweephok, P. (2011). Old people commit suicide. Retrieved December 5, 2019, from http:// 60society.blogspot.com/2011/09/blog-post_18.html (In Thai)
Teantong, A. (2015). 4 ways to tackle aging society. Retrieved July 2, 2017, from http://www. pharmahof.co.th/th/article/7587/ (In Thai)
Thumcharoen, M. (2012). The Influence of External and Internal Factors on Happiness of the Elderly. Thesis, Master of Science degree in Applied Statistics, Faculty of Applied Statistics, National Institute of Development Administration, Bangkok. (in Thai)
Tongkhamrod, R. (2011). Elderly psychosocial. Bangkok : Sukhothai Thammathirat University. (in Thai)