การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ

ผู้แต่ง

  • อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.44

คำสำคัญ:

ภูมิทัศน์สื่อ, การหลอมรวมสื่อ, สื่อมวลชนท้องถิ่น, หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น, นิตยสารวิทยุกระจายเสียง, วิทยุโทรทัศน์, สื่อใหม่, ภูเก็ต

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ภูมิทัศน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ 2) การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ และ 3) ความคาดหวังของประชาชนต่อสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และการวิจัยเชิงสำรวจ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักรวม 20 คน และการวิจัยเชิงสำรวจเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนในจังหวัดภูเก็ตจำนวน 400 คน

                ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิทัศน์ของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ ในช่วงปี พ.ศ. 2561-2562 ประกอบด้วย หนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจำนวน 12 ชื่อฉบับ นิตยสารจำนวน 4 ชื่อฉบับ สถานีวิทยุกระจายเสียงที่มีชื่อจดทะเบียนกับสำนักงาน กสทช. จำนวน 56 คลื่นความถี่ วิทยุโทรทัศน์ท้องถิ่น 15 หน่วยงาน และสำนักข่าวออนไลน์ จำนวน 7 สำนักข่าว 2) การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ ด้านการบริหารหน่วยงานที่ชัดเจนที่สุดคือ การลดจำนวนบุคลากร เพื่อลดต้นทุนการผลิต เป็นการปรับตัวโดยไม่ได้กำหนดนโยบายไว้ล่วงหน้า ด้านการผลิตงาน สื่อดั้งเดิมได้เพิ่มแพลตฟอร์มสื่อใหม่ เช่น เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ยูทูป ไลน์ เพื่อเผยแพร่ข่าวและเป็นช่องทางโฆษณา แต่การทำธุรกิจสำนักข่าวออนไลน์เพียงอย่างเดียวยังมีผลกำไรไม่มากนัก ในยุคหลอมรวมสื่อนักสื่อสารมวลชนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ควรมีทักษะการสื่อสารที่หลากหลาย และสามารถปรับตัวเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ ๆ และ 3) ความคาดหวังของประชาชนต่อสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนท้องถิ่นในจังหวัดภูเก็ต ในประเด็นบทบาทหน้าที่ต่อการรายงานข่าวสารของหน่วยงานราชการ/ภาครัฐ เอกชน และภาคประชาชนที่ค่าเฉลี่ยสูงสุดทุกสื่อ และคาดหวังต่อบทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนท้องถิ่น ในประเด็นให้ความบันเทิงแก่ประชาชนในจังหวัดภูเก็ต ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดทุกสื่อ

Author Biography

อุษณีย์ ศิริสุนทรไพบูลย์, มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

สาขาวิชานิเทศศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต ถนน เทพกระษัตริย์ ตำบล รัษฎา อำเภอ เมือง จังหวัด ภูเก็ต 83000

References

Boonsue, P. (2018). Non-profit Media Organization: The Solution to The Media Crisis in The Digital Age. Retrieved December 28, 2018, from https://thaipublica.org/2018/04/pridi94/ (In Thai)

Bradshaw, P. (2010). How Digital Media Changes are Affecting Local Media. Retrieved October 28, 2017, from https://onlinejournalismblog.com/2010/01/29/how-digital-media-changes-are- affecting-local-media/

Canadian Heritage. (2017). Disruption: Change and Churning in Canada’s Media Landscape. Retrieved October 28, 2017, from http://www.ourcommons.ca/Content/Committee/ 421/CHPC/Reports/RP9045583/chpcrp06/chpcrp06-e.pdf.

Dominick, J. R. (2011). Dynamics of Mass Communication: Media in Transition. USA : McGraw-Hill Higher Education.

Fyeted, K. (2017). Media Convergence of Local Mass Media: The Case Study of News Department of ATV cable TV Station, Phranakhon Si Ayutthaya Province. Bangkok: Kasetsart University. (In Thai).

Hastjarjo, S. (2017). Local Journalism in the New Media Landscape: Opportunities and Challenges. Retrieved December 28, 2018, from https://www.knepublishing.com/index.php/Kne-Social/article/view/863/2252.

Infoquest. (2017). Thailand Media Landscape 2017. Retrieved December 25, 2017, from http:// blog. infoquest.co.th/ iqmedialink/thailand-media-landscape-2017/ (In Thai).

Infoquest. (2018). Thailand Media Landscape 2018. Retrieved May 19, 2020, from file:///C:/ Users/admin/Downloads/WhitePaper_THV_THMEDL_2018.pdf (In Thai)

Isara Istitute. (2018). Media Disruption :Make TV Program Interesting by Celeb Blogger “Suekwan”. Retrieved December 28, 2018, from https://www.isranews.org/isranews-scoop/64278-report02-64278.html (In Thai)

Kaewthep, K. (2000). Media for Community: Knowlegde Processing. Bangkok : Thailand Research Fund. (In Thai)

Kotchapansompote, S. (2015). The Effects on Editorial Departments of Adjustments in the Period of Media Convergence. Thesis, Master of Arts degree in Mass Communication, Ramkhamhaeng University, Bangkok. (In Thai).

Meyer, K. M. (2015). Digital Journalism: Twitter Use of Local Newspapers and Television News Stations. Thesis, Master of Communication, University of Akron, Ohio.

Pavlik, J., and McIntosh, S. (2013). Convergence Media: A New Introduction to Mass Communication (3rded.). USA : Oxford University Press.

Pearson Education. (2013). Understanding the Media Landscape Components. Retrieved October 28, 2017, from http://www.contentextra.com/publicrelations/unit5/unit5home.aspx

Phuket Statistical Office. (2017). Phuket Provincial Statistical Report in Demograhpy. Retrieved February 20, 2018, from http://phuket.nso.go.th/index.php?option=com_content&view= article&id =132&Itemid=507 (in Thai)

Satawetin, P. (1998). Mass Communication: Process and Theory (2nded.). Bangkok : Pappim. (In Thai)

Suwanpong, B., et al. (2009). Status and Role of Local Newspapers in Thailand. Bangkok : Thai Journalists Association. (In Thai)

Thammo, T. (2017). Local Newspaper in Chiang Mai Province: Obstructive Factor, Public Expectations, and Guideline for Developing to Citizen Media. Retrieved Mayr 19, 2020, from http://www.research.cmru.ac.th/research59/ris/view.php?no=758 (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

ศิริสุนทรไพบูลย์ อ. (2020). การปรับตัวของสื่อมวลชนท้องถิ่นจังหวัดภูเก็ตในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 43–57. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.44