ปัญหาการประมงพาณิชย์ในจังหวัดระนอง

ผู้แต่ง

  • ภาวิดา รังษี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เศกสรรค์ ยงวณิชย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.70

คำสำคัญ:

ปัญหาการประมง, การประมงพาณิชย์, จังหวัดระนอง

บทคัดย่อ

      การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาของการทำประมงพาณิชย์ในจังหวัดระนอง โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเพื่อทำการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 29 คน ซึ่งแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ที่ทำงานในภาคประมงพาณิชย์ 14 คน 2) ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการประมงพาณิชย์ 3 คน 3) ชาวประมงพื้นบ้าน 5 คน และ 4) เจ้าหน้าที่รัฐที่ทำงานด้านการประมงในจังหวัดระนอง 7 คน และใช้การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ตรวจสอบข้อมูลโดยวิธีการการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูลและด้านวิธีการรวบรวมข้อมูล จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการประมงพาณิชย์จังหวัดระนอง แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก คือ ปัญหาด้านแรงงาน ได้แก่ ต้นทุนและความเสี่ยงด้านแรงงานสูง การขาดแคลนแรงงาน การขาดช่วงของการพัฒนาทักษะการทำงานประมง และส่วนที่สอง คือ ปัญหาการทำประมง ได้แก่ พื้นที่ทำการประมงน้อย การขาดข้อมูลเรือและเครื่องมือการทำประมง สัตว์น้ำลดลงและมีราคาตกต่ำ การจับจองพื้นที่ทำประมงในทะเลที่เรียกว่า ภาวะทะเลมีเจ้าของ ความขัดแย้งระหว่างเรือประมงพาณิชย์กับเรือประมงพื้นบ้าน และความยุ่งยากที่เกิดจากการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับการประมงจำนวนมาก ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยถูกนำไปเสนอต่อคณะกรรมการประมงจังหวัดระนองเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และคณะกรรมการประมงจังหวัดระนอง จะนำเสนอข้อเสนอเรื่องการประมงไปยังรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ หรืออธิบดีกรมประมง

References

Ayles, B., Porta, L., & Clarke, R. M. (2016). Development of an integrated fisheries co-management framework for new and emerging commercial fisheries in the Canadian Beauport sea. Marine Policy, 72, 246-254.

Fish Marketing Organization. (2018). Stat of fisheries 2018. Retrieved November 10, 2019, from http://www.fishmarket.co.th/index.php?option=com_content&view=category&id=44&Itemid=356 (In Thai)

Food and Agriculture Organization. (2012). The state of world fisheries and aquaculture in 2012. Rome : United Nation.

Food and Agriculture Organization. (2016). The state of world fisheries and aquaculture in 2016: Contributing to food security and nutrition for all. Rome : United Nation.

Islam, D., & Berkes, F. (2016). Can small-scale commercial and subsistence fisheries co-exist? Lessons from an indigenous community in Northern Manitoba, Canada. Maritime Studies, 15(1), 1-16.

Jakkapong. (2019, 1 November). Interview. (In Thai)

Kaplan, I. M., & Kite-Powell, H. L. (2000). Safety at sea and fisheries management: Fishermen's attitudes and the need for co-management. Marine Policy, 24(6), 493-497.

Office of Natural Resources and Environment Policy and Planning. (2018). Catch Per Unit of Effort (CPUE) at the Gulf of Thailand and Andaman Sea. Retrieved November 2019, from http://www.onep.go.th/env_data/2016/01_33/ (In Thai)

Piya. (2019, 24 November). Interview. (In Thai)

Ranong Fisheries Provincial Office. (2010). Ranong fisheries provincial office of work report 2010. Ranong: Author. (In Thai)

Wicha. (2019, 26 August). Interview. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

รังษี ภ., & ยงวณิชย์ เ. (2020). ปัญหาการประมงพาณิชย์ในจังหวัดระนอง. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 119–128. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.70