รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร (รูปแบบ CMLT)

ผู้แต่ง

  • นาย ทิวากร เหล่าลือชา 0821121590

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.53

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ทางการตลาด, การตลาดชุมชนท่องเที่ยว, รูปแบบ CMLT

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้ทางการตลาด 2) ศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาด 3) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาด 4) เพื่อดำเนินการตามรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาด และ 5) หาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มชุมชน กลุ่มภาครัฐ กลุ่มภาคเอกชนและลูกค้า และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ที่มีค่า IOC=0.89-0.91 และแบบสอบถามชุดที่ 1-4 มีค่า α=0.98 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า สภาพการดำเนินการทางการตลาด พบว่า ขาดการพัฒนาการเรียนรู้ทางด้านการตลาด การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการจัดการห่วงโซ่มูลค่าของชุมชนท่องเที่ยว ทำการวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชน มีจำนวน 9 องค์ประกอบ และมีองค์ประกอบการจัดการทางตลาด 9P ผู้วิจัยสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชน ภายใต้แนวคิด CMLT (Community marketing learning tourism) ทำให้ได้รูปแบบและหลักสูตรที่มีความเหมาะสม ( gif.latex?\bar{X}=4.62) นำไปทำการฝึกอบรม พบว่า ภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( gif.latex?\bar{X}=4.48) และ 5) ประสิทธิผลของรูปแบบที่พัฒนาขึ้นโดยใช้แนวคิด BSC พบว่า มุมมองการเงิน จำนวนยอดขายเพิ่มขึ้น (gif.latex?\bar{X} =4.66) มุมมองลูกค้า มีการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน (gif.latex?\bar{X} =4.51) มุมมองกระบวนการภายใน มีการรวมกลุ่มทางการตลาด ( gif.latex?\bar{X}=4.61) และมุมมองการเรียนรู้และการพัฒนา มีการประเมินทางการตลาด (gif.latex?\bar{X}=4.58)

References

Department of Tourism. (2014). Community Tourism Policy 2014-2018. Bangkok : PW Printing. (In Thai)

Department of Tourism. (2016). Tourism Statistics 2016. Bangkok : PW Printing. (In Thai)

Jaiuea, M., Kulsiri, P., Ativetin, T., & Sirisuthikul, V. (2015). Marketing Model for Cultural Heritage Tourism Development in Bangluang Community, Bangluang Sub-district, Banglen District, Nakhonpathom Province. Sripatum Chonburi Journal, 12(3), 12-24. (In Thai)

Kenaphoom, S. (2015). The Approach for Developing the Effectiveness of the Small and Miro of Community Enterprise (SMCE) in Maha Sara Kham Province. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University 2(3), 68-85. (In Thai)

Kotler, P., & Keller, K. L. (2012). Marketing Management (14th ed.). Global : Pearson Education.

Laoluecha, T. (2018). Model of Marketing Learning Management of Peanut Community in Mukdahan Province Phase 3. Research report. Mukdahan Community College, Mukdahan. (In Thai)

Ministry of Tourism and Sports. (2014). Community Tourism Strategic Plan 2014-2018. Bangkok: Veterans' Organization. (In Thai)

Parinyasetthakul, S., & Dhienhiru, A. (2017). The Development of Marketing Learning Management Model to Encourage the Community Business : A Case Study of Clay Pottery Business in KohKret Community. Journal of Information, 16(1), 61-75. (In Thai)

Pathomvanlchkul, W., Boonlue, T., Sripathar, S., & Ployduangrut, J. (2008). Knowledge Transfer Model to Enhance Marketing Learning on Community Product Groups. Rajabhat Maha Sarakham University Journal, 2(2), 57-68. (In Thai)

Phadi, P. (2014). Science and Technology Village Project Peanut Processing Village Pean Processing Group Ban Ban, Dong Sing Subdistrict, Chang Han District, Roi Et Province. Research report. Mukdahan Community College, Mukdahan. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

เหล่าลือชา น. ท. (2020). รูปแบบการจัดการเรียนรู้ทางการตลาดของชุมชนท่องเที่ยวในจังหวัดมุกดาหาร (รูปแบบ CMLT). วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 165–177. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.53