ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรกำกับ : กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • รดาภัค พลคำแก้ว คณะครุศาสตร์
  • อัจฉรา ชนากลาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.60

คำสำคัญ:

บัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง, ทุนทางจิตวิทยาเชิงบวก, ประสิทธิภาพการจัดทำบัญชี

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองโดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรกำกับ โดยงานวิจัยนี้ศึกษาปัจจัยในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ความสามารถทางบัญชี ด้านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี ด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี ด้านประสบการณ์ในการจัดบัญชี และด้านจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน สถิติที่ใช้ คือ การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ โดยเก็บข้อมูลจากผู้จัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจำนวน 363 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเข้าใจในขั้นตอนการจัดทำบัญชี ด้านประสบการณ์ในการจัดทำบัญชี และด้านจรรยาบรรณในการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผลกระทบร่วมระหว่างปัจจัยในการจัดทำบัญชีด้านการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีและทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกที่มีต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ งานวิจัยนี้ชี้ให้เห็นว่าการมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชี สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองควรให้ความสำคัญต่อการพัฒนาผู้ทำบัญชีในการรับรู้ในความสามารถของตนเอง เกิดทัศนคติที่ดีในการทำงานและการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง

References

Buntong, V. (2016). Accounting System and Internal audit of Village fund : A Case study Pranburi District Prachuapkhiri khan Province. Research Report. Nakhon pathom : Research and Development Institute Rajamangala University of Technology Rattanakosin. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1970). Essentials of psychological testing. New York : Happer and Row.

Kongmitree, N. (2015). The relationship between Accountability with efficiency Performance of accountants in the governing organization Local in Kalasin Province. Journal of Accounting and Management, Mahasarakham University, 7(1), 117-127. (In Thai)

Luthans, F., Avolio, B. J., Avey, J. B., & Norman, S. M. (2007). Positive Psychological Capital : Measurement and Relationship with Performance and Satisfaction. Personnel Psychology, 60, 541-572.

National Village and Urban Community Fund Office. (2017). National Village and Urban Community Fund Act 2004. Retrieved February 26, 2019, from www.villagefund.or.th (In Thai)

Office of the Auditor General of Thailand. (2017). National Village and Urban Community Fund. Retrieved February 26, 2019, from www.audit.go.th (In Thai)

Phobutdee, S. (2012). Problems of Fund Management in Ban Prang Village, Hindat Subdistrict, Huai Thalaeng district, Nakhon Ratchasima Province. Independent Study, Master of Public Administration degree in Public Administration Program, Rajabhat University, Buriram. (In Thai)

Phuwaphariyathorn, C. (2010). Factors Affecting the Successful Accounting and Financial Statements of the fund. Villages and urban communities from the perspective of trainees, Village fund auditors and urban communities. Self study, Master of Accountancy degree in Faculty of Commerce and Accountancy, Thammasat University, Bangkok. (In Thai)

Ugur, D., & Esen, E. (2018). The Effect Organizational Justice AnaPsychlogical Capital On Perceived Job Perfrmane. Age, 55-62.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rdED. New York. Harper and Row.

Yungsompoi, K. (2018). Factors Affecting the Efficiency of Small Business Bookkeepers small and Medium Enterprises (SMEs) in Bangkok. Independent study, Master of Accountancy degree in Faculty of Accountancy, Sripatum University, Bangkok. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

พลคำแก้ว ร., & ชนากลาง อ. (2020). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการจัดทำบัญชีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยมีทุนทางจิตวิทยาเชิงบวกเป็นตัวแปรกำกับ : กรณีศึกษากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในเขตจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 261–273. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.60