การจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา

การจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • สกุล วงษ์กาฬสินธุ์ วงษ์กาฬสินธุ์
  • ลือชัย วงษ์ทอง
  • กิจฐเชต ไกรวาส

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.40

คำสำคัญ:

กลุ่มธุรกิจชุมชนต้นแบบ, การจัดการธุรกิจชุมชน, ปัจจัยความสำเร็จธุรกิจชุมชน

บทคัดย่อ

     การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา 2) ศึกษาปัจจัยความสำเร็จการดำเนินงานธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา และ 3) กำหนดแนวทางการจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบ สำหรับองค์กรธุรกิจชุมชนอื่น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรเป้าหมายคือ กลุ่มธุรกิจชุมชนศูนย์สาธิตการตลาดในจังหวัดนครราชสีมา 4 แห่ง กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็น 3 กลุ่ม รวม 63 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ให้ความเห็นว่า เหมาะสม เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม ร่วมกับการสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการจำแนกประเภทข้อมูลและเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า

            การจัดการธุรกิจชุมชน ได้แก่ ด้านการวางแผน เป็นแบบง่ายตามวิธีชุมชน ชัดเจน ทุกคนช่วยกันทุกบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างแบบราชการกำหนด และด้านการซื้อสินค้าของชุมชน ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมและลงบัญชี รายงานผลในรูปแบบงบดุล ปีละ 1-2 ครั้ง พร้อมรายงานปัญหาอุปสรรค และการจัดการธุรกิจชุมชนเพื่อสังคม เกิดการรวมกลุ่มร่วมทุน นำผลกำไรมาจัดสรรเป็นสวัสดิการแก่สมาชิกและเป็นเงินทุนพัฒนาสาธารณประโยชน์ของชุมชน 3) ปัจจัยความสำเร็จด้านกลุ่มธุรกิจชุมชน

            ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงาน ด้านกลุ่มธุรกิจชุมชนที่อยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านกฎระเบียบข้อบังคับ และด้านผู้นำกลุ่ม และด้านสภาพแวดล้อมภายนอกส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการเสนอแนวทางคือ 1) ต้องมีการวางแผนและงบประมาณทั้งระยะสั้นและระยะยาว 2) บุคลากรต้องหลากหลาย ซื่อสัตย์ เสียสละต่อประโยชน์ของกลุ่ม และมีปราญช์ชุมชนเป็นที่ปรึกษา 3) ควรจ้างผู้ตรวจสอบบัญชีภายนอก 4) การระดมทุนภายในชุมชน จัดสรรกำไรสำหรับเป็นทุนสะสมและช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสในชุมชน 5) ต้องยึดหลัก การมีส่วนร่วมของสมาชิก จัดสรรผลกำไรคือสู่สังคม และ 6) สร้างนวัตกรรมด้านผู้นำให้รับผิดชอบต่อสังคม

References

Black, J. W., & Porter, L. W. (2000). Management : New Challenges. Phillip kotler : Prentice-Hall.

Community Development Department. (2011). Sufficiency Economy in household manual. Bangkok : Community Enterprise Promotion Division, Community Development Department. (In Thai)

Kaewthep, K. (1998). Economics in 2 trends. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Leklerpan, S. (2017). Research report of administrators’ management efficiency in Nontaburi Tambon Administrative Organization. Research report. Ratchaphruek University, Nonthaburi. (In Thai)

Office of National Economic and Social Development Council. (2011). Research report from analysis of economic social and cultural factor for community’s strength. Bangkok : Office of National Economic and Social Development Council. (In Thai)

_______. (2018). Summary of National Economic and Social Development Plan Vol. 12 from 2017-2011. Bangkok : Office of National Economic and Social Development Council. (In Thai)

Pengpinich, T. (2008). A study of community enterprise management model at fishery homestay village in Nong Kai. Thesis, Master of Public Administration degree in Faculty of Humanities and Social Sciences, Udon Thani Rajabhat University, Udon Thani. (In Thai)

Ploydee, J. (1997). Factors affecting success and failure of community enterprise in general and in individual aspects (Kamgaeng District, Yasothorn and Lansaka Nakhon SriThammarat). Thesis, Master of Economics degree in Graduate School Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Pongpis, S. (2001). Concept practice from experience of village fund. Bangkok : Jaroenvit Press.

Roaring, E. D. (1991). Upgrading Technological Cab abilities of Small Indus dry. Tokyo. Asian Productivity Organization.

Saengnil, K. (2018). Modern Management Theory. Retrieved January 5, 2019, from http:// oknation.nationtv.tv/ (In Thai)

Secretariat Office of Community Enterprise Promotion Board Department. (2005). Registration manual for community enterprise and network. Bangkok : Agricultural Technology Board Department of Agricultural Extension. (In Thai)

Social activity of NISE Corp, (2014). Social Enterprise. Paper for new investor for society training Batch 22, April 24, 2014. Bangkok : The Stock Exchange of Thailand. (In Thai)

Thani, T. (2001). Concepts and strategy in social development. Khon Kaen : Phrathammakhan Press. (In Thai)

Valaisathien, P., et al. (1997). Policy in community enterprise promotion. Full research report for Thailand Research Fund. Bangkok Thailand Research Fund (TRF). (In Thai)

Veerapattananirand, P. (1998). Community enterprise: definition concept practice. Bangkok : Department of Fisheries. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

วงษ์กาฬสินธุ์ ส., วงษ์ทอง ล., & ไกรวาส ก. (2020). การจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา: การจัดการธุรกิจชุมชนต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 255–265. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.40