ศักยภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย

ศักยภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อาภาภรณ์ สุขหอม มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กิจฐเชต ไกรวาส
  • อุษณากร ทาวะรมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.38

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพและความพร้อม, การท่องเที่ยววิถีฮาลาล, จังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาศักยภาพและความพร้อมของแหล่งท่องเที่ยว และ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ใน 5 ภาค ของประเทศไทย ใช้วิธีการศึกษาแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ กำหนดกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหารสมาคมธุรกิจด้านการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ตามกลุ่มประเภทธุรกิจ 4 ประเภท ๆ ละ 5 คน จำนวน 20 คน และกลุ่มหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการท่องเที่ยวในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก 5 จังหวัด ๆ ละ 4 คน จำนวน 20 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์แล้ว วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา และการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือกลุ่มผู้ปรกอบการธุรกิจท่องเที่ยว 4 ประเภท กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้ 297 คน เพื่อความสะดวกจึงใช้กลุ่มตัวอย่าง 300 คน เลือกวิธีการสุ่มอย่างง่าย ด้วยแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.70 ทั้งฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า จังหวัดท่องเที่ยวหลักที่มีศักภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล อยู่ในระดับสูง ได้แก่ เชียงใหม่ กรุงเทพมหานคร ชลบุรี และภูเก็ต สำหรับ จังหวัดนครราชสีมา มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง และมีความพร้อมอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะด้านโรงแรม/ที่พัก และปัญหา อุปสรรคที่พบ ด้านบุคลากร คือ ขาดความรู้ความเข้าใจหลักการให้บริการตามหลักศาสนาอิสลาม และด้านการจัดการ คือ ขาดงบประมาณสนับสนุนด้านการพัฒนาบุคลากร ผู้ประกอบการ และการจัดการแหล่งท่องเที่ยว

References

Bunyaphak, W. (1986). Concept of tourist attraction potential impact of tourism industry on art and cultural heritage. TAT Review, 40-42.

Din, K. (1989). Islam and tourism: Patterns issues and options. Annals of Tourism Research, 16(4), 542-563.

Division of Economy, Tourism and Sports. (2017). Statistics, Office of the permanent secretary for Tourism and Sports, October 2017. Retrieved June 8, 2019, form https://secretary. mots.go.th/policy/ (In Thai)

Kraipornsak, P. (2008). Study of tourism situation for tourists form middle east countries is Thailand. Research report. Bangkok : The Thailand Research Fund. (In Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research. Activities.Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Krivart, K., Sookhom, A., & Sirithammaket, C. (2018). Halal tourism management prototype in Chaing Mai. NRRU Community Research Journal, 13(2), 81-90. (In Thai)

MasterCard & Crescentrating. (2017). Global Muslim Travel Index 2017. Retrieved N. p., from https://newsroom.mastercard.com/asia-pacific/files/2017/05/Report-Mastercard-CrescentRating -GMTI-2017-20mb.pdf

_______. (2018). Global Muslim travel index 2018. Retrieved N. p., from https://www.halal media.jp/wp-content/uploads/2018/04/GMITI-Report-2018.pdf

Ministry of Tourism and Sports. (2015). Guide to quality standardization for tourist attractions. Bangkok : Tourism development department of tourism ministry of tourism and sports. (In Thai)

_______. (2017). The 2nd National tourism development plan 2017-2021 (B.E. 2560-2564). Bangkok : Office of the permanent secretary for Ministry of Tourism and Sports. (In Thai)

Muslim Studies Center, Chulalongkorn University. (2016). Muslim tourism market Thailand’s opportunity under the AEC. Retrieved June 8, 2019, form http://www.itd.or.th/th.(In Thai)

Namin, A. A. T. (2013). Value creation in tourism: An Islamic approach. International Research Journal of Applied and Basic Sciences, 4(5), 1252-1264.

Organization of the Islamic Cooperation. (2017). Islamic Cooperation Organization (OIC). Retrieved June 8, 2019, form http://sameaf.mfa.go.th/th/organization/detail.php?ID=206 (In Thai)

Pew Research Center. (2011). The future of the global Muslim population: Projections for 2010-2030. Retrieved N. p., from http://www.euro-muslims.eu/future_global.pdf

Sookhom, A., & Krivart, K. (2018). Halal Tourism Management in the Southern Andaman Coast of Thailand. The National Academic Research Conference 10th “Connecting Local Research to International Perspectives” (pp. 32-42). Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Srirathu, V. (2008). Eco-Tourism Potential of Amphoe Khao, Phetchabun Province. Thesis, Master of Science degree in Ecotourism Planning and Management, Srinakarinwirot University, Bangkok. (In Thai)

The Halal Science Center, Chulalongkorn University. (2018). Halal Science Center, Chulalongkorn University the only one in Asia. Retrieved June 8, 2019, form http://www.judprakai.com/food/641 (In Thai)

Tourism Authority of Thailand. (2017). Tourism of the main tourist destinations…Don’t be too big. TAT Review, 3(3), 24-31. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

สุขหอม อ., ไกรวาส ก., & ทาวะรมย์ อ. (2020). ศักยภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย: ศักยภาพและความพร้อมเพื่อรองรับการท่องเที่ยววิถีฮาลาล ของจังหวัดท่องเที่ยวหลักในประเทศไทย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 233–244. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.38