แนวทางการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา

แนวทางการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • เกษวดี เนื่องศรี เนื่องศรี
  • กิจฐเชต ไกรวาส
  • อนุจิตร ชิณสาร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.39

คำสำคัญ:

แนวทางการเสริมสร้างพลัง, การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น, กลุ่มสตรี

บทคัดย่อ

     การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยสนับสนุนและปัจจัยอุปสรรคในการเข้ามาพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา 2) แนวทางและวิธีการเสริมสร้างพลังของกลุ่มสตรีเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดฉะเชิงเทรา และ 3) กำหนดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและกลไกการขับเคลื่อนแนวทางและวิธีการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นสำหรับกลุ่มสตรีในพื้นที่อื่น ด้วยวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ผ่านการพิจารณาจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth interview) และการประชุมกลุ่มย่อย (Focus group) วิเคราะห์ข้อมูลใช้การจำแนกประเภทข้อมูล (Typological analysis) การเปรียบเทียบข้อมูล (Comparative analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

            ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยสนับสนุน ประกอบด้วย 1) ผู้นำกลุ่มมีความเข้มแข็งและมีศักยภาพ 2) การสนับสนุนจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3) การสนับสนุนจากครอบครัว 4) การสนับสนุนจากเพื่อนสมาชิกในกลุ่ม 5) ความเข้มแข็งและความสามัคคีของกลุ่มสตรี ส่วนปัจจัยอุปสรรค ประกอบด้วย 1) การขาดความพร้อมด้านเศรษฐกิจ 2) ปัญหาภายในครอบครัว 3) เวลาของสมาชิก 4) ขาดการมีส่วนร่วมจากกลุ่มคนรุ่นใหม่ 5) การเข้ามาเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ สำหรับแนวทางและวิธีการเสริมสร้างพลัง ประกอบด้วย 1) มีภาวะผู้นำและศักยภาพสูง 2) มีการสนับสนุนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างจริงจังและต่อเนื่อง 3) มีกระบวนการดำเนินงานภายในกลุ่มสตรีที่ชัดเจน 4) การให้อำนาจหน้าที่อย่างมีอิสระแก่สมาชิก 5) ส่งเสริมให้สมาชิกพัฒนาตนเองและให้ความรู้แก่สมาชิก 6) สตรีจำเป็นต้องมีทักษะในการพูดต่อที่สาธารณะ 7) สนับสนุนอาชีพแก่สมาชิก และข้อเสนอแนะสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคือ 1) ควรเร่งจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสตรีและกลุ่มสตรีของจังหวัด รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรี 2) ควรร่วมกันผลักดันให้รัฐบาลมีการกำหนดนโยบาย และกลไกการขับเคลื่อนอย่างจริงจัง 3) ควรดำเนินการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ส่งเสริมการพัฒนาด้านเทคโนโลยี การใช้สื่อดิจิตอลเพื่อการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่น และ 4) ควรเร่งจัดทำหลักสูตรแกนกลางในการพัฒนาสตรีและกลุ่มสตรีของจังหวัด

References

Community Development Department. (2019). Report of product sales under the One tambon One Product project, fiscal year 2016-2018. Bangkok : Center data center system for storage and utillzation, Ministry of Interior. (In That)

Kongcharoen, M. (2011). Development of a Community Empowerment Model to Promote the Sustainability of Learning Communities. SDU Research Journal, 7(2), 19-36. (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2017). The 12th National economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok : Office of the Prime Minister. (In Thai)

Saengthai, P., Phra Rajapariyatkawi, & Phramaha Pornchai Sirivaro. (2018). The Empowerment Model of Women for the Community Development According to Buddhist Principles. Journal of MCU Peace Studies, 6(4), 1334-1346. (In Thai)

Stogdill, R. M. (1974). Handbook of leadership: A survey of theory and research. Free Press.

Subongkoch, P., & Wisitsorasak, K. (2016). Model for Administration of Woman Group Development for Phetchaburi Community Empowerment. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 9(2), 2255-2267. (In Thai)

Thammasat University Research and Consultancy Institute. (2017). Strategies for Women Development 2017-2021. Bangkok : Department of Women’s Affairs and Family Development. (In Thai)

Thongpanya, T. (2014). A Participatory Empowerment Process for Raising Youth’ s Consciousness in Community Development. Thesis, Doctor of Philosophy degree in Human and Community Resource Development, Kasetsart University, Bangkok. (In Thai)

Yogawisai, L., & Nimphanit, C. (2016). The Promotion Of The Role Of Women In The Economic, Social And Cultural Development Of A Subdistrict Municipality: Case Studies Of Kutdu Subdistrict Municipality, Nonsang Subdistrict Municipality, Khoksri Subdistrict Municipality, Yangtalat Subdistrict Municipality, Nonghin Subdistrict Municipality, Kokkung Subdistrict Municipality. Journal of Rangsit Groduate Studies in Business and Social Sciences, 1(2), 135-148. (In Thail)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-01

How to Cite

เนื่องศรี เ., ไกรวาส ก., & ชิณสาร อ. (2020). แนวทางการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา: แนวทางการเสริมสร้างพลังเพื่อการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นของกลุ่มสตรีในจังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(2), 245–254. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.39