สถาปัตยกรรมบ้านดิน : ประยุกต์ภูมิปัญญาการสร้างเพื่อใช้อยู่อาศัยในภาคอีสาน

ผู้แต่ง

  • ประมุข บุญศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ศาสตรา เหล่าอรรคะ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.71

คำสำคัญ:

สถาปัตยกรรมบ้านดิน, ประวัติความเป็นมา, ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา

บทคัดย่อ

    งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมา สภาพปัจจุบันและปัญหาของสถาปัตยกรรมบ้านดินในภาคอีสานและประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาการสร้างบ้านดินในการออกแบบที่อยู่อาศัยในภาคอีสาน กลุ่มเป้าหมายเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นระยะที่ 1 กำหนดพื้นที่ 6 จังหวัด และกลุ่มผู้รู้ 34 คน ระยะที่ 2 ใช้เครื่องมือคือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามที่ผ่านความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วเก็บข้อมูลกับกลุ่มผู้รู้ ระยะที่ 3 ประชุมเชิงปฏิบัติการกับกลุ่มผู้ปฏิบัติ 11 คน และระยะที่ 4 สร้างบ้านดิน ร่วมกับกลุ่มผู้ปฏิบัติและกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั่วไป 36 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า เมื่อ 70-100 ปีที่ผ่านมา ชาวจีนที่อพยพได้นำวัฒนธรรมการสร้างบ้านดินเข้ามาหลายแห่งในภาคอีสาน สภาพปัจจุบันของบ้านดินที่ไม่ได้ออกแบบโดยสถาปนิกมักถูกมองว่าไม่มีความสวยงาม จึงแทนที่ด้วยตึกคอนกรีตเพราะความทันสมัย ดังนั้นการประยุกต์ใช้โดยนำคุณสมบัติที่ดีด้านการออกแบบของบ้านดินดั้งเดิมร่วมกับสถาปัตยกรรมในยุคสมัยปัจจุบัน ผสมผสานวัสดุแต่ละชนิดตามคุณสมบัติและดึงความโดดเด่นทางคุณค่าของวัสดุให้แสดงออกมาได้อย่างสง่างาม ตอบสนองต่อการใช้ประโยชน์และความงามทางสถาปัตยกรรม

References

Jundi, J. (2014). You Kub Din (3th ed.). Bangkok : Pappim. (In Thai)

Nilsakul, D. (2003). The Conservation of Tuekdin in Sluth I-SAN. Thesis, Master of Architecture Program in Architecture, Chulalongkorn Univesity, Bangkok. (In Thai)

Panin, O. (1997). The studies of villages, houses and building technology of the Chinese Villages in Maehongson. NAJUA : Architecture, Design and Built Environment, 15(3), 3-34. (In Thai)

Permpituck, S. (2011). Clay house build technique. Art and Architecture Journal Naresuan University, 2(2), 93-101. (In Thai)

Ruengtham, P. (2017). Design Theory (2th ed.). Mahasarakham : Mahasarakham University. (In Thai)

Silpsai, D. (2003). Earth House : An Alternative Architectuire Case Study : Baan Srithan,Aumphor Pateaw, Yasothorn Province. Thesis, Master of Architecture Program in Architecture, Silpakorn Univesity, Bangkok. (In Thai)

Sriwattanaprayoon, N. (2009). The Study and Analysis of Translation of Heat from Earth Structure’s Wall. Research report. Rajamangala University of Technology Thanyaburi, Bangkok. (In Thai)

Wechkama, T. (2011). Concept Theory Cultural (2th ed.). Mahasarakham : Mahasarakham University. (In Thai)

Yodmale, B. (2011). Cultural and Ethnographical Theories. Mahasarakham : Mahasarakham University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

บุญศิลป์ ป., & เหล่าอรรคะ ศ. (2020). สถาปัตยกรรมบ้านดิน : ประยุกต์ภูมิปัญญาการสร้างเพื่อใช้อยู่อาศัยในภาคอีสาน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 129–143. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.71