The แนวทางการพัฒนาองค์กรไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายใต้บริบทวัฒนธรรมไทย: ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี

ผู้แต่ง

  • อรรถพล ศิริลัทธยากร Rattana Bundit University
  • ภาณุ เชาว์ปรีชา มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • นันทพร ชเลจร มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต
  • จำเนียร จวงตระกูล มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.54

คำสำคัญ:

องค์กรแห่งการเรียนรู้, วัฒนธรรมไทย, ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทย ปัญหาและอุปสรรคในการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทย วัฒนธรรมไทยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทย และนำเสนอแนวทางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนขององค์กรไทยภายใต้บริบทวัฒนธรรมไทย โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพและใช้ยุทธศาสตร์การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎี เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่างที่ถูกเลือกมาจากผู้ที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ ตลอดจนมีบทบาทสำคัญและความเกี่ยวข้องโดยตรงในการพัฒนาองค์กรสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทย จนกระทั่งข้อมูลมีความอิ่มตัวทางทฤษฎี รวมทั้งสิ้นจำนวน 35 คน

            ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทยตามความเห็นของกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติด้านองค์กร ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ องค์กรยืดหยุ่น การสื่อสาร และสภาพแวดล้อมด้านการเรียนรู้ 2) มิติด้านคน ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ หัวหน้า การพัฒนาคน การให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กรทุกฝ่าย และความสามารถในการเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง 3) มิติด้านการจัดการความรู้ ซึ่งมีองค์ประกอบ ได้แก่ การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ การจัดเก็บองค์ความรู้ไว้กับองค์กร และการออกแบบการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และ 4) มิติด้านเทคโนโลยี นอกจากนี้ผลการวิจัยยังพบว่าวัฒนธรรมไทยสามารถส่งเสริมหรือขัดขวางการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ขององค์กรไทย ดังนั้นการนำหลักแนวคิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ซึ่งถูกริเริ่มมาจากประเทศทางสังคมตะวันตกมาใช้ในองค์กรไทยจึงต้องอยู่บนพื้นฐานความเข้าใจในรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรมไทย และถูกประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม

References

Bloom, B. D., & Crabtree, B. F. (2006). The Qualitative Research Interview. Medical Education, 40, 314-321.

Creswell, J. W. (2007). Qualitative Inquiry and Research Design: Choosing Among Five Approaches (2nd ed.). Thousand Oaks, California : Sage Publications.

Glaser, B., & Strauss, A. (1967). The Discovery of Grounded Theory: Strategies for Qualitative Research. New York : Aldine de Gruyter.

Gunu, U., & Sanni, H. O. (2016). Impact of Learning Organization on Organizational Survival in Some Selected Nigerian Manufacturing Firms. Asia Pacific Journal of Multidisciplinary Research, 4(4), 28-35.

Hofstede Insights. (n.d.). What about Thailand? Retrieved April 20, 2020 from https://www. hofstede-insights.com/country/thailand/

Hofstede, G., Hofstede, G. J., & Minkov, M. (2010). Cultures and Organizations-Software of the Mild (3rd ed.). New York: McGraw-Hill.

Holmes, H., & Tangtongtavy, S. (2003). Working with the Thais (2nd ed.). Bangkok : White Lotus.

Jamali, D., Sidani, Y., & Zouein, C. (2009). The Learning Organisation: Tracking Progress in a Developing Country-A Comparative Analysis Using the DLOQ. The Learning Organisation, 16(2), 103-121.

Joungtrakul, J. (2010). Qualitative Research: A Tool for Knowledge Creation for National Development. Bangkok : Business Law Center International Company Limited. (In Thai)

Joungtrakul, J. (2017). Research Design in Practices: A Study of Research Design in Research Articles Published in Academic Journals in Thailand. Prae-wa Kalasin Journal of Kalasin University, 4(2), 172-206. (In Thai)

Khesal, S. M., Samadi, B., Musram, H. A. M., & Zohoori, M. (2013). The Impact of Trust on Knowledge Sharing. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business, 5(2), 495-501.

Khunsith, A. (2007). The Study of the Effect of Patronage System to the Recruitment and Designation. Organizational Culture: A Case Study of State Enterprise Organization. Retrieved April 20, 2020, from https://www.ocsc.go.th/sites/default/files/document/ research-atinart-2550.pdf (In Thai)

Komin, S. (1990). National Character in the Thai Nine Values Orientations. Retrieved April 19, 2020, from http://www.thaisunset.com/downloads/Suntaree%20Komin%20Thai%20National%20 Character.pdf

Korbuakeaw, T. (2016). The Development of Learning Organization with Process of Knowledge Management on Disseminating Academic Performance of the Teachers via the Internet: A Case Study of Rajavinit Mathayom School. Journal of Graduate Studies, Valaya Alongkorn Rajabhat University, 10(2), 63-74. (In Thai)

Lincoln, Y. S., & Guba, E. G. (1985). Naturalistic Inquiry. Beverly Hills : Sage Publications.

Mack, O., & Jungen, M. (2016). Program Management in VUCA Environments: Theoretical and Pragmatical Thoughts on a Systemic Management of Projects and Programs. In Mack, O., Khare, A., Krämer, A., & Burgartz, T. (Eds.), Managing in a VUCA World (pp. 41-57). London : Springer International Publishing.

Malterud, K., Siersma, V. D., & Guassora, A. D. (2016). Sample Size in Qualitative Interview Studies: Guided by Information Power. Qualitative Health Research, 26(13), 1753-1760.

McNeish, J., & Mann, I. S. (2010). Knowledge Sharing and Trust in Organizations. The IUP Journal of Knowledge Management, 8(1&2), 18-38.

Shenton, A. (2004). Strategies for Ensuring Trustworthiness in Qualitative Research Projects. Education for Information, 22(2), 63-75.

Strauss, A. L., & Corbin, J. M. (1998). Basic of Qualitative Research: Techniques and Procedures for Developing Grounded Theory (2nd ed.). Thousand Oaks : Sage Publications.

Styhre, A., Josephson, P. E., & Knauseder, I. (2006). Organization Learning in Non-writing Communities: The Case of Construction Workers. Management Learning, 37(1), 83-100.

Tufford, L., & Newman, P. (2010). Bracketing in Qualitative Research. Qualitative Social Work, 11(1), 80-96.

Tuohy, T. (2014). Watching the Thais (2nd ed.). Bangkok : Bamboo Sinfonia. (In Thai)

Yodwisitsak, K. (2004). The Implementation of Knowledge Management in Thailand: Through the Barricades. Journal of Business Administration, Thammasat Business Journal, 27(102), 71-86. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-07-01

How to Cite

ศิริลัทธยากร อ., เชาว์ปรีชา ภ., ชเลจร น., & จวงตระกูล จ. (2020). The แนวทางการพัฒนาองค์กรไทยสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภายใต้บริบทวัฒนธรรมไทย: ยุทธศาสตร์การวิจัยแบบการศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(3), 178–192. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.54