การพัฒนารูปแบบไตรสิกขาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ผู้แต่ง

  • รมิดา ศรีมันตะ Nakhonratchasima
  • นงนภัส เที่ยงกมล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พุฒิพงศ์ สัตยวงศ์ทิพย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.74

คำสำคัญ:

รูปแบบ, ไตรสิกขา, การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม, สิ่งแวดล้อมศึกษา, แรงบันดาลใจจิตสาธารณะ

บทคัดย่อ

     วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้คือ 1) การพัฒนารูปแบบไตรสิกขาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สำหรับนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ 2) ศึกษาผลลัพธ์ของตัวแปรแฝงภายในพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ที่ได้รับจากตัวแปรแฝงภายนอกไตรสิกขา สิ่งแวดล้อมศึกษา และตัวแปรแฝงภายในแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ประชากรเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 5,652 คน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปี 2559 ใช้เทคนิคการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีจัดสลากในการเก็บรวบรวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 411 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยเครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถามออนไลน์ที่ค่าความเชื่อมั่น 0.971 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิเคราะห์โมเดลเชิงโครงสร้างที่พัฒนาขึ้นสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์มีค่า gif.latex?\chi2=164.20, df=112, RMSEA=0.045, RMR=0.0026, GFI=0.94 และ AGFI=0.91

            ผลการวิจัยพบว่าตัวแปรแฝงภายนอกไตรสิกขา และสิ่งแวดล้อมศึกษา สามารถอธิบายความแปรปรวนของแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ร้อยละ 63.00 และยังสามารถทำนายความแปรปรวนของแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมร้อยละ 69.00 และแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสูงสุดต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมด้วยค่าอิทธิพล 0.76 รองลงมาคือ ไตรสิกขา และสิ่งแวดล้อมศึกษาตามลำดับ นอกจากนี้พบว่าแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และพฤติกรรมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมีอิทธิพลสูงสุดต่อแรงบันดาลใจจิตสาธารณะเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมมากที่สุดคือ สิ่งแวดล้อมศึกษา รองลงมาคือ ไตรสิกขา

References

Chamrernsan, W. (2011). Causal Relationship Model of Psychology and Environmental Education for Global warming Alleviation of undergraduate students in Mahasarakham University. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Environmental Education, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Charoensilpa, D. (2011). Development of Model on Environmental Conservation Volunteer Network with Integration of Environmental Education Principle for Global Warming Alleviation. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Environmental Education, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of test. Psychometrika, 16(3), 297-334.

Khachasenee, J. (2015). Ecology for environmental. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Khoowaranyoo Thiengkamol, N. (2011). Environment and Development Book1 (4th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Khoowaranyoo Thiengkamol, N. (2011). Holistically Integrative Research (2nd ed.) Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Khoowaranyoo Thiengkamol, N. (2016). Theory Development with LISREL Research. Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

Koonboonchan Thiengkamol, A. (2013). Causal Relationship Model of Global Warming Alleviation Integrated with Four Noble Truths and Psychological State. Dissertation, Doctor of Philosophy Program in Environmental Education, Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Payutto, P. (2004). Buddha-Dharma Extend Edition (12th ed.). Bangkok : mcupress. (In Thai)

Phra Dhamma Mongkol Yarn. (2016). Dharma from heart. Bangkok : Willpower Institute. (In Thai)

Pimdee, P., Thiengkamol, N., & Thiengkamol, T. (2012). Psychological Trait and Situation Affecting through Inspiration of Public Mind to Energy Conservation Behavior of Undergraduate Student. Mediterranean Journal of Social Sciences, 3(3),81-88.

Prasertsri, N., Thiengkamol, N., & Thiengkamol, T. (2013). Causal Relationship Model of Learning Behavior of Information Technology. European Journal of Scientific Research, 104(3), 475-487.

Yamamoto, S. & Kuwahara, V. S. (2009). How does Buddhism Contribute to the Environmental Problems?. The Journal of Oriental Studies, 19, 71-80.

Yamamoto, S., & Kuwahara, V. S. (2008). The Middle-way of Buddhism and Environmental Problems. The Journal of Oriental Studies, 18, 89-101.

Yamane, T. (1973). Statistics. An Introductory Analysis (3rd ed.). Tokyo : Harper International Edition.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

ศรีมันตะ ร., เที่ยงกมล น., & สัตยวงศ์ทิพย์ พ. (2020). การพัฒนารูปแบบไตรสิกขาเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 172–186. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.74