กลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • สุวิชชาภรณ์ กฤตยาเกียรณ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • สมชัย วงษ์นายะ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.76

คำสำคัญ:

กลยุททธ์, สุขภาพองค์การ, การพัฒนา

บทคัดย่อ

   

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสุขภาพองค์การและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก 2) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก 3) ประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 506 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and. Morgan และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ การประชุมเชิงปฏิบัติการและการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ประเมินกลยุทธ์โดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 17 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

            ผลการวิจัยพบว่า สุขภาพองค์การของสถานศึกษาในด้านที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา ได้แก่ ด้านระบบการดำเนินงานขององค์การ และด้านเทคโนโลยี

            ผลการพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 9 กลยุทธ์

            ผลการประเมินกลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พบว่า มีความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์อยู่ระดับมากและมากที่สุด

References

Chuapakdee, J. (2007). Factors influencing Medical Personnel of Uttaradit Community Hospital. Thesis, Master of Liberal Arts Program in Local Research and Development Graduation School, Uttaradit Rajabhat University, Uttaradit. (In Thai)

Eadsiripan, K. (2009). The improvement of Educational Organization indicator. Trang Educational Service Area Office Division 2. Thesis, Master of Educational Program in Administration Program Graduate school, Thaksin University, Songkra. (In Thai)

Guskey, T. R. (2000). Evaluation professional development. California : A sage.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Detemining sample size for research activities. Educational and Psycholgical Measurement, 30, 607-610.

Mesintri, S. (2013). Thai Adjustment to the World Changes. Bangkok : Bangkokbiznews. (In Thai)

Miles, M. B. (1973). Planned Change and Organizational Health: Figure and Ground. Boston : Allyn and Bacon.

Ministry of Education. (2009). Second Century of Educational evolution. Bangkok : Press of Agricultural Cooperative Federation of Thailand. Limited.

Phumpan, K. (2010). The Relationship between Organizational Culture and Organizational Commitment.

Independent Research, Master of Business Administration Program in Maha Sarakham Rajabhat University, Maha Sarakham. (In Thai)

Promma, C. (2013). Research Report on the Development of Educational Management with the cooperation of the Education Network to Develop Local Principles Supporting Creative Economy with Uttaradit Local Organization. Uttaradit : Uttaradit Rajabhat University. (In Thai)

Puckapaswiwat, S. (2010). Strategical Management (20nd ed.). Bangkok : Amarin. (In Thai)

Rattanatisoi, P. (2013). The Participation in Educational Resource Accumulation for Foundation Education, Nong Kai Primary Educational Service Area Office 1. Thesis, Master of Education Program in Educational Administration, Maha Sarakham Rajabhat University, Maha Sarakham. (In Thai)

Sornprasit, K., & Chinatangkul, S. (2010). Organizational Evaluating Tool Development of Elementary School. Silpakorn Educational Research, 2(1), 33-43. (In Thai)

Srimoung, P. (2012). The Development of Human Resource Managemant Strategy of Schools Under Secondary Educational Service Area Zone 41. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Administration and Development Strategy, Kamphaeng Phet Rajabhat University, Kamphaeng Phet. (In Thai)

Srimoung, P. (2013). Strategy Development for the Management according To Public Sector Management Quality Award of subdistrict administrative organisation in Kamphaeng Phet Province. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Administration and Development Strategy, Kamphaeng Phet Rajabhat University, Kamphaeng Phet. (In Thai)

Sutticod, Y. (2012). Educational resource mobilization focused on personnel and equipment of schools in seka district under the office of nongkhai elementary educational service area 3. Thesis, Master of Education Program in Educational Administration, Nakorn Phanom University, Nakorn Phanom. (In Thai)

Tak Primary Educational Service Area Office 1. (2015), Primary Educational Development. Tak : Primary Educational Service Area Office 1. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

กฤตยาเกียรณ ส., วงษ์นายะ ส., & สมพงษ์ธรรม เ. (2020). กลยุทธ์การพัฒนาสุขภาพองค์การของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดตาก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 200–212. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.76