การพัฒนาท่ารำรำวงโบราณอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • ฐรดา ประเสริฐ วิทยาลัยนาฏศิลปจันทบุรี สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.48

คำสำคัญ:

รำวง, เพลงรำวง, รำวงโบราณ

บทคัดย่อ

      งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประวัติการกำเนิดรำวงโบราณและรวบรวมองค์ความรู้และภูมิปัญญาของศิลปะการแสดงรำวงโบราณของท้องถิ่นอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี 2) เพื่อวิเคราะห์และค้นหาแนวทางการพัฒนาท่ารำรำวงโบราณ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รวบรวมเพลงพื้นบ้าน นักรำวงหรือนางรำ และชาวบ้านผู้มีประสบการณ์การรำวง จำนวน 10 คน ระเบียบวิธีวิจัยใช้การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการแสดงในพื้นที่ และการวิเคราะห์ท่ารำจากนักรำวง ผลการศึกษาพบว่า การกำเนิดรำวงโบราณเป็นการแสดงรำวงท้องถิ่นอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ทำการรวบรวมเนื้อร้องเพลงรำวงและท่ารำรำวงโบราณในปี พ.ศ. 2525-ปัจจุบัน (2563) ผ่านการแสดงรำวงโบราณ คณะรำวงสวนปู่ของลุงกาญจน์ (นายกาญจน์ กรณีย์) ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีร่วมกับนักรำวง (ผู้เป็นนางรำ พ.ศ. 2487-2497) และชาวบ้าน ผลการวิเคราะห์ท่ารำรำวงโบราณพบว่าท่ารำมี 2 รูปแบบ คือท่ารำสื่อความหมายและท่ารำไม่สื่อความหมาย ภาษาท่าใช้สื่อความหมายมี 3 ลักษณะคือภาษาท่าที่ใช้แทนคำพูด อากัปกิริยาและอารมณ์ ท่ารำมีวิธีการใช้อวัยวะส่วนต่าง ๆ ของร่างกายตามความถนัดสอดคล้องกับท่านาฏยศัพท์และท่ารำแม่บทใหญ่และแนวทางการพัฒนาท่ารำ รำวงโบราณใช้ท่ารำในเพลงแม่บท หลักภาษาท่าและท่านาฏยศัพท์

References

Buason, R. (2015). Qualitative Research in Educations (5th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Jampha, P. (2017). Ramtone. Academic journal PhranakhonRajabhat University, 8(2), 227-238. (In Thai)

Janninwong, N. (2013). Choreography of Thai Performing Arts Movement of Achan Suwanni Charanukroa The National Artist 1990. Thesis, Master of Arts Program in Thai Dance, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Junloon, N. (2005). Development and Dance Characteristics of RUM-TONE Performance in Nakhon Ratchasima. Thesis, Master of Arts Program in Thai Dance, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

K002. (2018, March 20). President of Thai Cultural Committee of Khlung District. Interview. (In Thai)

Punchakattikun, N. (2015). Phaiboon Butkhan : The Wisdom of Social and Cultural Folk Songs Appear in Thai Country Songs. Academic journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 29-36. (In Thai)

Saksri, P. (2014). Local Wisdom on RUM-THONE Performance of Ban Sri tha Tai in Songkorn Sub-distric, Kaengkoi, Saraburi Province. Thesis, Master of Arts Degree Program in Development strategies, SurindraRajabhat University, Surindra. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-20

How to Cite

ประเสริฐ ฐ. (2021). การพัฒนาท่ารำรำวงโบราณอำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(3), 91–103. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.48