ผลสัมฤทธิ์และการรับรู้ความสามารถทักษะปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิกด้วย OSCE ของนักศึกษาพยาบาล
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.51คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การรับรู้ความสามารถ, ทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์และการรับรู้ความสามารถทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 จำนวน 108 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมินทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกการใส่สายยางกระเพาะอาหารทางปากในทารก และการดูดเสมหะในปากและจมูกในเด็ก เป็นแบบประเมินที่พัฒนามาจากคู่มือการประเมินทักษะทางคลินิกด้วย OSCE จากสถาบันพระบรมราชชนก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข 2) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถในการสอบทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.77 ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก การใส่สายยางกระเพาะอาหารทางปากมีคะแนนอยู่ในระดับดีมาก (คะแนน 90-100 คะแนน ร้อยละ 62.03) และการดูดเสมหะทางปากและจมูก (คะแนน 90-100 คะแนน ร้อยละ 52.78) 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิก การใส่สายยางกระเพาะอาหารทางปากและการดูดเสมหะทางปากและจมูก พบว่า ทั้งสองทักษะมีความแตกต่างกับเกณฑ์ผ่าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 3) นักศึกษามีการรับรู้ความสามารถทักษะปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกของตนเอง อยู่ในระดับดี (=3.97, S.D.=0.64) 4) การหาค่าความสัมพันธ์ พบว่า การรับรู้ความสามารถทักษะปฏิบัติ การพยาบาลทางคลินิก ไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์การใส่สายยางกระเพาะอาหารทางปากในทารก และผลสัมฤทธิ์การดูดเสมหะทางปากและจมูกในเด็ก แต่มีความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์การใส่สายยางกระเพาะอาหารทางปากในทารก กับผลสัมฤทธิ์การดูดเสมหะทางปากและจมูกในเด็ก (r=0.231) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05
References
Bandura, A. (1977). Social learning theory. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Bandura, A. (1986). Social foundations of thought and action. Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Chutjearjeen, S., Singhasem, P., & Wuttisukphaisan, S. (2017). Effects of a Perceived Self-Efficacy Promoting Program for Life Skill Enhancement on Sexual Health Behavior of Students. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 4(2), 268-280. (In Thai)
Evans, R. W. (1988). A dream unrealized: A brief look at the history of issue unturned approaches. The Social Studies, 80(4), 178-184.
Khunrit, B. (2016). The Academic Self-Efficacy and Adversity Quotient of Student in Program Business Computer, SuanDusit University, Trang Center. Proceeding of Research presentation in the 7th Hatyai National and International Academic Conference, Hatyai University (23 June 2016). (In Thai)
Lhimrut, N. (2008). Objective Structured Clinical Examination. Medical Education Resources of Prince of Songkla University. Songkla: Medical Faculty of Prince of Songkla University. (In Thai)
Lohapaiboonkul, N., & Pharakal, B. (2014). The Effects of an Objective Structured Clinical Examinations (OSCEs) Test to Evaluate The Knowledge and Clinical Skills in Basic Medical Treatment and Perceive of Preceptors from Community of The Clinical Skills of Nursing Students. Nursing Journal of Public Health, 13(2), 24-34. (In Thai)
Thipayapharaphonkul, B., Junphet, A., & Phasertmuaeng, D. (2016). Manual of Assessment Nursing Clinical Skills with OSCE. Nontaburi : Yudtarin printing. (In Thai)