การเมืองของภาพถ่ายในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2562

ผู้แต่ง

  • นพพล ชูกลิ่น มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศุภชัย ศุภผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.68

คำสำคัญ:

ภาพถ่ายการเมือง, ประวัติศาสตร์การเมืองไทย, ทฤษฎีการสื่อสาร

บทคัดย่อ

   

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิจัย 3 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาบทบาทของภาพถ่ายและช่างภาพในฐานะตัวกลางระหว่างองค์กรทางการเมืองกับประชาชน 2) เพื่อศึกษากระบวนการที่องค์กรทางการเมืองและชนชั้นนำใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารทางการเมือง 3) เพื่อศึกษาบทบาทการเมืองของภาพถ่ายที่มีต่อกระบวนการกล่อมเกลาหรือการสื่อความหมายต่อประชาชน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาภาพถ่ายและเอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ จดหมายเหตุประเทศไทย หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากข้อมูลในเว็บไซต์ต่าง ๆ โดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์เนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ด้านการเมืองการปกครองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2562 เพื่อสรุปและอภิปรายผลตามกรอบทฤษฎีของหน่วยการศึกษาข้างต้น อาทิเช่นการสื่อสารทางการเมือง สัญวิทยา และอำนาจของการสื่อสารด้วยภาพถ่าย

                ผลการศึกษาพบว่า 1) ภาพถ่ายเป็นสื่อกลางที่มีอิทธิพลต่อการสร้างบริบททางสังคมและการเมืองซึ่งนำไปสู่การสื่อสารและการกล่อมเกลาประชาชนตามความประสงค์ของผู้ส่งสาร อย่างไรก็ตาม ช่างภาพข่าวไทยในฐานะผู้ผลิตผลงานได้รับการอ้างอิงถึงในระดับต่ำมากเมื่อเปรียบเทียบกับช่างภาพต่างประเทศ 2) รูปแบบกระบวนการที่องค์กรทางการเมืองและชนชั้นนำของประเทศไทยใช้ภาพถ่ายเป็นเครื่องมือในการสื่อสารสอดคล้องกับทฤษฎีการสื่อสารทางการเมืองของ ไบรอัน แม็คแนร โดยมีรูปแบบวัตถุประสงค์ตามบริบทของการเมืองของแต่ละช่วงสมัยนั้น ๆ 3) การเมืองของภาพถ่ายที่มีต่อการกล่อมเกลาทางการเมืองและการสื่อการเมืองต่อประชาชนนั้น เกิดจากการถอดรหัสที่แปลความตามหลักการสัญญวิทยาซึ่งลึกซึ้งกว่า วัตถุ บุคคล หรือ เหตุการณ์ที่เห็นในภาพถ่าย เกิดการตีความหมายเชิงสัญลักษณ์และมายาคติ นำไปสู่การกระตุ้นหล่อหลอม และ ความเห็นคล้อยตามวัตถุประสงค์ในการสื่อสารขององค์กรหรือบุคคลผู้ส่งสารนั้น ๆ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทุกยุคทุกสมัย

References

Bradley, J., & Powers, R. (2006). Flags of our fathers. New York : Random House Publishing Group.

Lilleker, D. G. (2014). Political Communication and Cognition. London : Palgrave Macmillan.

McNair, B. (2011). An Introduction to Political Communication. New York : Routledge.

Mektrirat, N. (2007). Case Rama 7 abdication: The abdication of RAMA 7: political interpretation and implicaton (2nd ed.). Bangkok : Torch Publishing Project. (In Thai)

Mirzoeff, N. (1998). The visual culture reader. London : Routledge.

Peirce, C. S. (1991). Peirce on Signs. Chapel Hill : The University of North Carolina Press.

Photographs of Rosenthal, J. (1945). Raising the Flag on Iwo Jima. Retrieved February 12, 2018, from 100photos.time.com.

Photographs of Ut, N. (1972). The Terror of War. Retrieved February 12, 2018, from 100photos. time.com.

Puttaraksa, W. (2019). Antonio Gramsci and Political Thinking. Bangkok : Sommutt. (In Thai)

Rattanamongkhongmas, A. & Khatithamnit, V. (2004). Thai and politics: peetivawipayok. Bangkok : Institute of Education Policy. (In Thai)

Shannon, C. E., & Weaver, W. (1948). The Mathematical Theory of Communication. The Bell System Technical Journal, 27, (July-October), 379-423, 623-656.

Teeravekin, L. (2016). Thai Democracy in the 21st Decade: stalemates, Solutions and Solutions. Bangkok : King Prajadhipok’s Institute. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

ชูกลิ่น น., & ศุภผล ศ. (2020). การเมืองของภาพถ่ายในประวัติศาสตร์การเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึง พ.ศ. 2562. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 90–103. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.68