การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชน
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.10คำสำคัญ:
รูปแบบการเรียนการสอน, สมรรถนะที่โดดเด่น, พยาบาลเพื่อชุมชนบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะนักศึกษาที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนในการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชนของวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการสอน เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย 1) ศึกษา วิเคราะห์ และสังเคราะห์สมรรถนะที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ทดลองใช้และศึกษาผลการใช้รูปแบบการสอน โดยใช้แบบแผนการทดลอง The One-Group Pre-Posttest Design กลุ่มตัวอย่างใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เป็นนักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 4 จํานวน 124 คน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ในวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้ 2) แบบประเมินสมรรถนะ 3) แบบวัดความรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ ได้แก่ t-test และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) สมรรถนะที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชนมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) พยาบาลอัจฉริยะด้านจัดการสุขภาพชุมชน (2) นวตกรด้านสุขภาพ (3) การดูแลหลากวัฒนธรรม (4) ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาวะชุมชน 2) รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรมการเรียนการสอนมีทั้งหมด 4 ขั้นตอน: OPMA model คือ ขั้นปฐมนิเทศ ขั้นวางแผน ขั้นกำกับตนเอง ขั้นประเมินตนเอง และ (4) ประเมินผล และ 3) ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักศึกษามีคะแนนสมรรถนะที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชนสูงกว่าก่อนเรียน มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้สูงกว่าก่อนเรียน คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะที่โดดเด่นด้านการพยาบาลเพื่อชุมชนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
References
Amatayakul, A., Khamwong, W., & Thongnarong, P. (2014). Transformative Learning for Community Nurse Production: A Case Study of Boromarajonani College of Nursing, Khon Kaen. Journal of Health Systems Research, 8(4), 375-381. (In Thai)
Best, J. W., & Kahn J. V. (1986). Research in Education. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hal.
Boromarajonani College of Nursing Khon Kaen. (2013). Bachelor of Nursing Program (Curriculum update 2012). Khon Kaen : Boromarajonani College of Nursing Khon Kaen. (In Thai)
Boromarajonani College of Nursing Khon Kaen. (2018). A project for the development of students' potential to become graduates with quality and outstanding performance in nursing for the community. Khon Kaen : Boromarajonani College of Nursing Khon Kaen. (In Thai)
Buachu, T. (2018). A study of the Opinion of Teaching and Learning Models of Undergraduate Nursing Curriculum, Phetchabury Rajabhat University in the 21st Century. Journal of Nursing Science Chulalongkorn University, 30(3), 26-37. (In Thai)
Butler, D. L., & Winne, P. H. (1995). Feedback and Self-Regulated Learning A Theoretical Synthesis. Review of Educational Research, 65, 245-281.
Chularee, S., Wijakkanalan, S., & Suwannoi, P. (2015). Blended Learning Model Development Promoting Successful Intelligence Toward Problem-solving Planning in Nursing. Journal of Education, 38(3), 114-125. (In Thai)
Glasersfeld, E. von. (1991). Redical constructivism: A way of knowing and learning. London : Falmer Press.
Joyce, B., & Weil, M. (2009). Models of teaching. 8th ed. Boston, Ma : Pearson.
Kannasoot, P. (1999). Statistics for Research in the Behavioral Sciences. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)
Khemmani, T. (2010). Science of Teaching: Knowledge of Efficient Learning Process Management. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)
Kunaviktikul, W. (2015). Development of a Teaching and Learning Model Based on Mastery Learning for a Course on Laws Related to the Nursing and Midwifery Profession. Research report. Faculty of Nursing, Chiang Mai University, Chiang Mai. (In Thai)
Nuntaboot, K. (2007). 6 main systems for creating a community nurse. Nonthaburi : Institute for Community Health System Research and Development. (In Thai)
Panich, V. (2013). Teaching in the 21st Century. Bangkok : The Siam Commercial Foundation. (In Thai)
Pintrich, P.R. (1995). Uderstanding Self-Regulation Learning. USA : Jossey-Bass Publishers.
Saraketrin, A., Rongmuang, D., & Chantra, R. (2019). Nursing Education in the 21st Century: Competencies and Roles of Nursing Instructors. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 20(1), 12-20. (In Thai)
Sri Sa-ard, B. (2010). Preliminary research (8th ed.). Bangkok : Suwiriyasarn. (In Thai)
Sternberg, R.J . (2005). The Theory of Successful Intelligence. Journal of Psychology, 39(2), 189-202.
Supoj, T. (2016). Team-Based Learning: Problem Situation, Level of Participation and Student Achievement. Journal of Rangsit University: Teaching & Learning, 10(1), 36-46.
Sutthirat, C. (2011). Authentic Learning. Nonthaburi: Sahamit Printing & Publishing Public Co.
Tongnarong, P., & Others. (2013). The Results of Competency and Identity Development in the Community Public Health Nursing Program for Community, Khon Kaen Province. Journal of Nursing and Health Care, 32(1), 185-193. (In Thai)
William, J. (1890). Principles of Psychology. New York : H. Holt and Company.