พฤติกรรมแห่งความผิดพลาดและความต้องการในอาชีพของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมรมเด็กและเยาวชนชาย

ผู้แต่ง

  • ณัฐพล แก้วเกิด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วรรณดี สุทธินรากร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • อุทุมพร อินทจักร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.17

คำสำคัญ:

พฤติกรรมแห่งความผิดพลาด, ความต้องการในอาชีพ, เด็กและเยาวชน, ศูนย์และอบรมเด็กและเยาวชนชาย

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) ศึกษาพฤติกรรมแห่งความผิดพลาดและสาเหตุที่ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดพลาดของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย 2) ศึกษาความต้องการในอาชีพของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed method research) ระหว่างการเก็บข้อมูลภาคสนามโดยใช้แบบสอบถามกับเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนชาย จำนวน 249 คน และกรณีข้อมูลรายกรณี (Case study) ด้วยการสัมภาษณ์เด็กและเยาวชนผู้ใช้ชีวิตผิดพลาด จำนวน 20 คน ข้อมูลเชิงปริมาณวิเคราะห์ด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า สาเหตุของความผิดพลาดคือการขาดทักษะชีวิต ได้แก่ การขาดวุฒิภาวะ มีอุปนิสัยแห่งวัย ที่ขาดการยั้งคิด ขาดเป้าหมายในชีวิต มองโลกในแง่ร้าย ไม่เข้าใจความจริงในชีวิต มีปัญหาครอบครัว คบเพื่อนไม่ดี และสิ่งแวดล้อมในชุมชนและรายรอบไม่ดี เด็กและเยาวชนมีความต้องการในอาชีพที่สูง ( gif.latex?\bar{X}=4.07, S.D=0.63) แนวทางในการเตรียมความพร้อมของเด็กและเยาวชนคือจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมอาชีพให้ตรงกับความถนัดและความสนใจของเด็กและเยาวชน และเพิ่มสัดส่วนของหลักสูตรทักษะชีวิตให้เท่ากับหลักสูตรอบรมอาชีพ โดยกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีการประสานข้อมูลและกำหนดบทบาทในการทำงานที่เชื่อมต่อถึงกันกับ 1) สำนักงานการอาชีวศึกษา 2) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และ 3) กรมสุขภาพจิต

References

Admission Premium. (2018). Royal Command on Education of King Rama IX. Retrieved October 30, 2018, from https://www.admissionpremium.com/content/4075 (In Thai)

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). New Jersey : Prentice Hall.

Chansri, J. (2012). Curriculum Development on Self Planning for Teenage in Welfare Institute, Observation, and Fahsai Wittaya School. Master of Education in Curriculum and Instruction Program, Bansomdejchaopraya Rajabhat University, Bangkok. (In Thai)

Charuchutharat, Y. (2009). A Cause Sudyt of Juveniles who have Committed Homicide: A Case study of Saraburi Juvenile Observation and Protection Center. Thesis of Master of Science Progrm in Clinical and Community Psychology, Ramkamhaeng University, Bangkok. (In Thai)

Cronbach, L. J. (1984). Essential of Psychology and Education. New York : Mc-Graw Hill.

Decharachata, D. (2013) The Relationships between Factors Causing of Crimes Committed and Child-Parenting Patterns of Children and Youths in the Juvenile Observation and Protection Centre in Suratthani Province. Thesis, Master of art in Human and social development Program in Sukhothai Thammathirat University, Nonthaburi, unpaged. (In Thai)

Department of Juvenile Observation and Protection (2019). Case report 2017-2019. Bangkok : Department of Juvenile Observation and Protection, 1-34. (In Thai)

Likert, R. A. (1932) Technique for the Measurement of Attitudes. Arch Psychological, 25(140), 1-55.

Ramwarungkura, A. (2015). Vocational Paradigm. Bangkok : Chulalongkorn University publisher. (In Thai)

Sutthinarakorn, W., & Abdulsata, Ph. (2018). Vocational Education for Country Development. Bangkok : Siam Publisher. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-03

How to Cite

แก้วเกิด ณ., สุทธินรากร ว., & อินทจักร์ อ. (2021). พฤติกรรมแห่งความผิดพลาดและความต้องการในอาชีพของเด็กและเยาวชนในศูนย์ฝึกและอบรมรมเด็กและเยาวชนชาย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(1), 223–235. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.17