แนวทางการจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศ วัดหัวฝาย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ประเวศ เวชชะ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • พูนชัย ยาวิราช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • ไพรภ รัตนชูวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สมเกียรติ ตุ่นแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • หาญศึก เล็บครุฑ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย
  • สุวดี อุปปินใจ CHIANG RAI RAJABHAT UNIVERSITY

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.62

คำสำคัญ:

กิจกรรมและการบริหารจัดการ, การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ, โรงเรียนผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

    การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางกิจกรรมและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศของวัดหัวฝาย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เอกสารรายงานการจัดการศึกษาของโรงเรียน การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริหาร ครู ประธานชมรมผู้สูงอายุและผู้เรียนของโรงเรียนรวม 12 คน และการสนทนากลุ่ม ประกอบด้วยผู้บริหาร 1 คน ครู 3 คน ผู้เรียน 3 คน ประธานชมรมผู้สูงอายุ 1 คน รวม 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสรุปสาระสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุครอบคลุม 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) ด้านวิชาชีวิต (4ส) ได้แก่ การเจริญสติและสมาธิ กิจกรรมสบายใจ กิจกรรมสังคมสงเคราะห์ และการสวัสดิการกลุ่มของผู้สูงอาย 2) ด้านวิชาชีพ (4ส) ได้แก่ สร้างรายได้ ส่งเสริมสัมมาชีพ สมุนไพร และสินค้า 3) ด้านวิชาการ (4 ส) ได้แก่ ด้านสติปัญญา สุขภาพ การสื่อสาร และสภาพแวดล้อม ด้านวิชาชีพ (4ส) ได้แก่ สร้างรายได้ (สตางค์) ส่งเสริมสัมมาชีพ สมุนไพร และสินค้า โดยมีกระบวนการบริหารและการจัดการที่ยึดหลักการ กระบวนการ และการมีส่วนร่วม ของกลุ่มพลังในสังคมและชุมชนมาเป็นทีมงานในการดำเนินงานของโรงเรียนผู้สูงอายุเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทและครอบคลุมงานของโรงเรียนทั้งในด้านบริเวณ บริวาร บริการ บริภัณฑ์ บริกรรมกิจ และบริกรรมภาวนา

References

Department of Elderly Affairs. (2016). The Manual of Ederly School. Retrieved January 31, 2019, from http://www.dop.go.th/download/formdownload/download_th_20161706112607_2.pdf (In Thai)

Foundation of Thai Gerontology Research and Development institute. (2015). The situation of Thai elderly. Bangkok : Institute for Population and Social Research, Mahidol University. (In Thai)

Kammanee, M. (2019). Suggestions on measures to promote cooperation between public and private organizations working for the elderly. Retrieved January 31, 2019, from http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/network/topic005.php (In Thai)

Office of Social Development and Human Security, Chiang Rai Province. (2018). The information of Elderly School in Chiang Rai Province. Chian Rai : n.p. (In Thai)

Prachuabmoh, V. (2019). Elderly in Thailand: trends characteristics and problems. Retrieved August 14, 2019, from http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/soongwai/topic004.php (In Thai)

Rafel, U. M. (2019). Partnership for Health: A New Health Vision In South East Asia Region. Retrieved August 14, 2019, from http://hp.anamai.moph.go.th/soongwai/statics/about/network/topic004.php (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

เวชชะ ป., ยาวิราช พ., รัตนชูวงศ์ ไ., ตุ่นแก้ว ส., เล็บครุฑ ห., & อุปปินใจ ส. (2020). แนวทางการจัดกิจกรรมและการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุของโรงเรียนผู้สูงอายุที่มีผลการปฏิบัติเป็นเลิศ วัดหัวฝาย อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 14–24. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.62