การศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.65คำสำคัญ:
สภาพปัญหาขยะมูลฝอย, การจัดการขยะมูลฝอย, แนวทางการจัดการขยะมูลฝอย, ขยะเหลือศูนย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการขยะมูลฝอย และศึกษาแนวทางในการจัดการขยะมูลฝอย ในเขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกแบบเจาะจงผู้ที่มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ในด้านการจัดการขยะ จำนวน 5 คน ใช้แบบสัมภาษณ์ที่มีค่า IOC=0.80 เก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา สำหรับกลุ่มตัวอย่างกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ได้ 400 ตัวอย่าง ทำการสุ่มด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย ใช้แบบสอบถามที่มีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการจัดการขยะมูลฝอยที่สำคัญเกิดจากฝ่ายบริหาร ฝ่ายจัดเก็บขยะ และฝ่ายกำจัดขยะ โดยมีระดับปัญหาด้านการกำจัดขยะมูลฝอยเป็นอันดับที่หนึ่ง รองลงมาคือด้านการเก็บรวบรวมข้อมูล และด้านการคัดแยกขยะมูลฝอย และมีความต้องการในการจัดการขยะมูลฝอยด้านการร่วมมือแก้ไขปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการร่วมมือปฏิบัติลดปริมาณขยะมูลฝอย สำหรับแนวทางที่สำคัญคือ 1) การสร้างองค์ความรู้ตามหลักวิชาการในการจัดการขยะมูลฝอยให้กับประชาชนนำไปปฏิบัติในระดับครัวเรือน 2) การจัดแบ่งประเภทรถเก็บขยะทั่วไปและขยะอันตรายที่ชัดเจน 3) การปลูกจิตสำนึกให้ประชาชนเล็งเห็นถึงผลกระทบของปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และ 4) การกำหนดเป้าหมายในอนาคตเป็นขยะเหลือศูนย์
References
Bilitewski, B. (2008). From traditional to modern fee systems. Waste management, 28(12), 2760-2766.
Bua-Lat, S. (2017). Factors affecting the solid waste management efficiency of people in the area of thasongkhon Sub-district Administrative Organization, Mueang District, Mahasarakham Province. The 2nd academic research presentation meeting, Rajabhat Maha Sarakham University, (pp. 1349-1360). (In Thai)
Chaiprapan, S., & Vanapruk, P. (2010). Integrated solid waste management, Basic practice and theory. Songkla : Department of Civil Engineering Faculty of Engineering Prince of Songkla University. (In Thai)
Office of the Council of State. (2006).The Act defines decentralization procedures for local administrative organizations B.E. 1999. Retrieved June 9, 2019, from www.dla.go.th/ work/planlocal (In Thai)
Phetchabun Municipality. (2018). Basic information. Retrieved June 10, 2018, from http://www.nakornban.net/home/home.php (In Thai)
Pollution Control Department, Ministry of Natural Resources and Environment. (2019). Summary of Thailand’ s pollution situation in 2018. Bangkok : Mongkol printing. (In Thai)
Srisathit, T. (2010). Community solid waste management engineering. Bangkok : Chulalongkorn University Publishing. (In Thai)
Vanapruk, P. (2012). Improvement of Municipal Solid Waste Management Policy in Thailand. Thesis, Doctor of Philosophy degree in Environmental Management, Prince of Songkla University, Songkla. (In Thai)
Watpanichakul, K. (2020). Household Solid Waste Management Behaviors in Samut Sakhon Municipality, Samut Sakhon Province. Faculty of Social Sciences and Humanties, Mahidol University, 19(2), 55-72. (In Thai)
Wongchummali, P., & Pampasit, R. (2017). ZERO WASTE: CONCEPTS AND PRINCIPLES OF THE ZERO WASTE SOCIETY. Document for academic conference (Proceeding) seminar network of graduate students 16th Program in Sociology and Anthropology, 915-929. (In Thai)
Woracchitsanupong, W. (2018). Community Solid Waste Management Model district-in Dongmada Sub, Maelao District, Chiangrai Province. 13th Naresuan National Research Conference : Research and Innovation Drive the economy and society, 1261-1271. (In Thai)
Yamane, T. (1973). Statistics anintroduction analysis. New York : Harper & Row.
Yasamut, C. (2012). Environmental health on waste management. Chiang Mai : Sangsin. (In Thai)