ภาพแทนความเป็นชายและความเป็นหญิงอีสานในหมอลำกลอน

ผู้แต่ง

  • หทัยวรรณ มณีวงษ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.18

คำสำคัญ:

ภาพแทน, อัตลักษณ์ทางเพศ, ความเป็นชาย, ความเป็นหญิง, หมอลำกลอน

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง ภาพแทนความเป็นชายและความเป็นหญิงอีสานที่ปรากฏในหมอลำกลอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ภาพแทนความเป็นชายและความเป็นหญิงในหมอลำกลอน ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ผู้วิจัยได้คัดเลือกจากตัวบทหมอลำกลอนประเภทหมอลำกลอนธรรมดาและหมอลำกลอนโจทย์-แก้ ที่มีการเผยแพร่ทั้งที่จำหน่ายทั่วไปและทางออนไลน์ จากนั้นนำทฤษฎีภาพแทนและความเป็นชายความเป็นหญิงอีสานมาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภาพแทนความเป็นชายและความเป็นหญิงอีสานที่ปรากฏ ได้แก่ ภาพแทนความเป็นชายที่ถือครองอำนาจนำ ภาพแทนความเป็นชายที่ไม่ถือครองอำนาจนำ ภาพแทนความเป็นหญิงที่ไร้ซึ่งอำนาจ และภาพแทนความเป็นหญิงที่ถือครองอำนาจนำ ซึ่งภาพแทนดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมอีสานที่มีความสอดคล้องกับลักษณะของสังคมไทยที่เริ่มจากสังคมชายเป็นใหญ่ คือ สังคมประกอบสร้างภาพแทนที่ผู้ชายจะต้องเข้มแข็ง เป็นผู้นำ มีอำนาจ และเป็นผู้ดูแลปกป้องผู้หญิง เมื่ออุตสาหกรรมมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเกิดการเรียกร้องสิทธิสตรี ทำให้บทบาทและอำนาจของผู้ชายลดลง โดยสามารถแสดงอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองได้อย่างเปิดเผย สามารถอ่อนแอหรือเข้มแข็งได้ตามสถานการณ์ ในขณะที่ผู้หญิงเริ่มมีบทบาทในสังคมมากขึ้น อีกทั้งยังมีสิทธิ เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นจนนำไปสู่การพยายามแสดงออกซึ่งอำนาจของตน

References

Binthasan, B., & Phonprasit, K. (2010). Moh Lam. Bangkok : Chulalongkorn University Publisher.

Bungsai, S. (1990). The role of Lam-Klon in politics. Thesis, Master of Art Program in Thai Studies (Humanities), Mahasarakham University, Mahasarakham. (In Thai)

Chaithongdee, C. (2015). Contemporary Isan: rural analysis in text and context. Nonthaburi : Sripanya. (In Thai)

Charoensatit, S. (2010). Contemporary portraits of masculinity images in printed advertisings in metropolitan male-targeted magazines. Bangkok : University Research and Consultancy Institute that Thammasat. (In Thai)

Chinnawong, P. (2003). Pretty boy : A phenomena of masculinity in Thai society. Bangkok : Thammasat University. (In Thai)

Santasombut, Y. (1994). Humans and Culture. Bangkok : Thammasat University. (In Thai)

Sritamma, K. (2003). Thai Wisdom : What we can learn from Isarn-Folk Song. (Klon-Lam Sing). Mahasarakham : Faculty of Humanities and Social Sciences, Mahasarakham University. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-09

How to Cite

มณีวงษ์ ห. (2021). ภาพแทนความเป็นชายและความเป็นหญิงอีสานในหมอลำกลอน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(1), 236–249. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.18