การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาทางการอ่าน

ผู้แต่ง

  • วิไลวรรณ จันทร์น้ำใส คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • วิภาวรรณ วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.59

คำสำคัญ:

โปรแกรมซ่อมเสริม, ความสามารถทางการอ่าน, ปัญหาทางการอ่าน, แนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพของโปรแกรมซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาทางการอ่าน กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 30 ที่มีปัญหาทางการอ่าน จำนวน 22 คน ใช้เวลาในการทดลองสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรม จำนวน 5 แผน และแบบทดสอบการอ่านภาษาไทยก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยวัดผลก่อนและหลังการทดลอง (One group pretest-posttest design) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ Paired Samples t-test คะแนนพัฒนาการเพิ่มสัมพัทธ์ของกลุ่มเป้าหมายรายบุคคล และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพของกลุ่มเป้าหมาย ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) โปรแกรมซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮมสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาทางการอ่านมี 8 องค์ประกอบ โดยมีหลักการ 8 ประการ ได้แก่ การวินิจฉัยข้อบกพร่องทางการอ่านรายบุคคล การกำหนดวัตถุประสงค์ที่เหมาะสมกับความสามารถของนักเรียนและกำหนดการประเมินผลที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ การจัด ลำดับเนื้อหาจากง่ายไปยาก การจัดกิจกรรม ที่มีความยืดหยุ่น หลากหลาย เน้นการใช้พหุสัมผัส และใช้การสอนแบบแจกลูกสะกดคำหรือโฟนิกส์ เลือกใช้สื่อที่หลากหลาย เหมาะสมกับเนื้อหา ความสนใจของนักเรียน ให้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) อย่างสม่ำเสมอ ฝึกฝนอย่างเพียงพอ ตลอดจนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดีและการเสริมแรงบวก โปรแกรมนี้มีเนื้อหาจำนวน 8 เรื่อง ตามปัญหาทางการอ่านของนักเรียน และแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 5 แผน 2) หลังเข้าร่วมโปรแกรม กลุ่มเป้าหมายมีความสามารถทางการอ่านสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Author Biography

วิไลวรรณ จันทร์น้ำใส, คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะครุศาสตร์ สาขาวิชา หลักสูตรและการสอน

References

Burns C. P., Roe D. B., & Ross P. E. (1982). Teaching reading in today’s elementary schools. (4th ed.). New Jersey : Houghton Mifflin Company Boston.

Hughes, S. (2014). The Orton-Gillingham language approach-A research review. Retrieved January 2, 2017, from https://www.nessy.com/us/files/.../Orton-Gillingham_Report-Final-Version.pdf

International Dyslexia Association. (2016). DAS Supports IDA’s Response to ILA Dyslexia Research Advisory. Retrieved January 10, 2017, from https://dyslexiaida.org

Jiraviboon, J. (2002). A Development of an Instructional Reading Model for Dyslexic Students at Elementary Education Level based on The Multisensory Approach and The Mediated Instructional Approach. Dissertation, Degree of Philosophy in Curriculum and Instruction, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Lanchwathanakorn. C. (2017). Guidelines for assisting elementary children struggling with reading. Journal of Education, 44(3), 287-301. (In Thai)

Leelamanee, S. (2010). A Study on Word Reading Ability and Reading Motivation in Third Grade Students with Reading Disabilities through Phonics and Multi-Sensory Approach. Retrieved March 14, 2020, from http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Spe_Ed/Supraima_L.pdf (In Thai)

Ministry of Education. (2009). Illiteracy is the challenging problem. Retrieved December 20, 2018, from http://social.obec.go.th/node/30 (In Thai)

Samkoses, W. (2009). Forum for the annual academic seminar 2009 (TK Forum 2009) National agenda Reading decade Reading Policy. Retrived December 25, 2018, from https://www.tkpark.or.th /stocks/extra/00059c.pdf (In Thai)

Thairath. (2016). Hot issue on Children’s day What makes (Why) children struggle with reading or writing. Retrieved December 25, 2018, from https://www.thairath.co.th/content/560044 (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-26

How to Cite

จันทร์น้ำใส ว., & วงษ์สุวรรณ์ คงเผ่า ว. (2021). การพัฒนาโปรแกรมซ่อมเสริมการอ่านภาษาไทยตามแนวคิดออร์ตัน-กิลลิงแฮม สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีปัญหาทางการอ่าน. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(3), 241–253. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.59