การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ โดยใช้โมดไอโอเนียนจากทฤษฎีดนตรีไดอาโทนิคโมด
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.51คำสำคัญ:
โมดไอโอเนียน, ทฤษฎีไดอาโทนิคโมด, การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาแนวทางในการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์โดยใช้โมดไอโอเนียนจากทฤษฎีไดอาโทนิคโมด โดยนำเสนอผ่านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ของสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทย ประเภทข้าวไทย กรณีศึกษาข้าวหอมมะลิทุ่งสัมฤทธิ์ ใช้วิธีการศึกษาเอกสารจากการทบทวนวรรณกรรม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรี 5 คน ด้านข้าวไทย 1 คน และด้านเรขศิลป์ 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม ซึ่งมีข้อคำถามครอบคลุมวัตถุประสงค์การวิจัย ที่ผ่านการตรวจสอบความสอดคล้องจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ สนทนากลุ่ม และคัดเลือกแนวทางการออกแบบบรรจุภัณฑ์ วิเคราะห์ข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ข้อมูลการคัดเลือกด้วยการหาคะแนนรวมค่าเฉลี่ย ข้อค้นพบที่ได้มีดังนี้
แนวทางการสื่อสารบุคลิกภาพและอารมณ์ คือ มีความสุขและความรัก ได้แนวทางการออกแบบ 3 แนวทาง ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทั้งหมด โดยแนวทางที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยรวมสูงสุดเท่ากับ 4 คะแนน และได้องค์ประกอบทางการออกแบบเรขศิลป์ 4 ส่วน ประกอบด้วย 1) แนวความคิดที่เชื่อมโยงกับแหล่งภูมิศาสตร์ 2) บุคลิกภาพและอารมณ์ 3) แนวทางภาพประกอบ และ 4) แนวทางการใช้ตัวอักษร ซึ่งถึงสื่อภาพลักษณ์ของสินค้าที่เหมาะสม สามารถนำเสนอแนวทางการออกแบบ พัฒนาบรรจุภัณฑ์ ตราสินค้า และเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ไทยได้
References
Bannerman. (2008). Mode for rock guitar players. Independently published. Institute of packaging professional. (2019). Retrieved 3 January, 2019, from https://www.iopp.org
Charoenphon, S. (2013). Package Design. Chiang Rai : Chiang Rai Rajabhat University. (In Thai)
Cole, S. (2012). The Anatomy of Type: A Graphic Guide to 100 Typefaces. HarperCollins Publishers.
Core 77 designawards. (2019). Geometric form. Retrieved 3 January, 2019, from https://designawards.core77.com/Packaging
Cormier, S. M. (2010). Modal Music Composition (3rd ed.). N.p. : Inman & Artz Publishers.
Dansakun, N. (1998). Mode, concept and implementation. Songkhla : Thaksin University. (In Thai)
Hewitt, M. (2013). Musical Scales of the World (1st ed.). UK : The Note Tree.
Kobayashi, S. (1992). Color Image scale. USA : Kodansha.
Kongkiaetjaroen, P., & Kongkiaetjaroen, S. (1998). Food Packaing. Bangkok : The Thai packaging association. (In Thai)
Nataliva. (2020). Illustration Trends for 2020. Retrieved 5 January, 2019, from https://creativemarket.com/blog/10-illustration-trends-for-2020
O’Gorman, K. M. (2014). Scales A La Mode: an introduction to modal improvisation. N.p. : CreateSpace Independent Publishing Platform.
Packaging of the world. (2019). Food packaing. Retrieved 5 January, 2019, from https://www.packagingoftheworld.com/
Pentawards. (2019). Vector Flat Illustration. Retrieved 25 December, 2018, from https://pentawards.com
Red-dot. (2019). Retrieved 3 January, 2019, from https://www.red-dot.org
Rice Department. (2017). Geographical Indication. Retrieved 3 January, 2019, from http://www.ricethailand.go.th/web/ (In Thai)
Sukkon, K., & Disatapundhu, S. (2018). Graphic Design for Shopping Goods Branding to Masstig Consumers.
College of Social Communication Innovation, SWU, 7(2), 71-83. (In Thai)
Talaluck, M., Sonyon, T., & Intum, P. (2019). Design of Local Identity on the Packages for the Community Enterprise of Ban Soa Luang, Bor Suak Sub district, Nan Province. RMUTL Journal Socially of Engaged Scholarship, 3(1), 11-18. (In Thai)
Urairat, N. (2016). Study and Design development of Rice Packing “Jekcheuy Saohai Saraburi”. Research report. Dhurakij Pundit University, Bangkok. (In Thai)
Virunanont, P. (in press). Communication Design Process. Bangkok : n.p. (In Thai)
Yiangsakonsing, C. (2012). Growth trend of Thai packaging. Retrieved 3 January, 2019, from http://ostc.thaiembdc.org/13th/ (In Thai)