การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการให้นั่งร้านของครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • วาสนา กีรติจำเริญ 0841020893
  • สิรินาถ จงกลกลาง คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • วันวิสาข์ โชรัมย์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สำราญ ตั้งศรีทอง สำนักงานศึกษาธิการ จังหวัดนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.42

คำสำคัญ:

ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, การให้นั่งร้าน, 20 เทคนิค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการให้นั่งร้านของครูผู้สอนรายวิชาภาษาไทย คณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน และ 2) พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน โดยใช้วิธีการให้นั่งร้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นการศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 จำนวน 20 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3  จำนวน 335 คน และครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 5 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 จำนวน 175 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือครูเรื่องการให้นั่งร้าน และชุดนวัตกรรมที่ใช้ในการพัฒนาครู เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (แบบทดสอบแบบเลือกตอบ จำนวน 28 ข้อ) และแบบประเมินวิธีการให้นั่งร้านของครู (ลักษณะเป็นแบบรูบริค) ที่ได้ผ่านการหาคุณภาพของเครื่องมือ มีค่า IOC เท่ากับ 1.00 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

            ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีความสามารถในการให้นั่งร้าน อยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 64.00 และมีความสามารถในการให้นั่งร้าน อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 36.00 ตามลำดับ และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 มีความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 44.90 อยู่ในระดับมากคิดเป็นร้อยละ 39.61 อยู่ในระดับน้อยคิดเป็นร้อยละ 15.49 ตามลำดับ

References

Laowreandee, W. (2010). Thinking Skills Instructional Models and Strategies (10th ed.). Nakhon Prathom : Silpakorn University. (In Thai).

Lutz, S. L., Guthrir, J. T., & Davis, M. H. (2006). Scaffolding for Engagement in Elementary School Reading Instruction. The Journal of Educational Research, 100(1), 3-16.

Majid, A. H. A., & Stapa, S. H. (2017). The Use of Scaffolding Technique via Facebook in Improving Descriptive Writing among ESL Learners. The Southeast Asian Journal of English Language Studies, 23(4), 77-88.

Meepin, T. (1996). Comparison of reading comprehension and attitude towards reading in Thai language of Grade 3 students by KWL Plus Interactive Reading with Handbook Reading. Thesis, Master of Secondary Education Program in Secondary Education, Srinakharinwirot University Prasarnmit, Bangkok. (In Thai).

Ministry of Education. (2008). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Retrieved September 9, 2020, from https://drive.google.com/file/d/1SjQZqQbmU52DP1ODySpOm VEcUzW-7xP7/view (In Thai)

Ministry of Education. (2010). Guidelines for developing and evaluating reading, analyzing thinking and writing according to the core curriculum basic education, 2008 (2nd ed.). Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (In Thai).

Ministry of Education. (2017). Learning standards and indicators for math, science, and geography subject groups in the learning subject group of Social Studies, Religion and Culture (Revised Edition B.E. 2560) according to the Core Curriculum of Basic Education, B.E. 2551. Bangkok : The Agricultural Cooperative Federation of Thailand. (In Thai)

Panomyam, S. (2001). Basic Psychology for Education. Nakhon Prathom : Faculty of Education Silpakorn University. (In Thai).

Sirinat, J., & others. (2019). Handbook: A Development of Reading, Writing, and Analysis Thinking to Promote Critical Thinking using Scaffolding. Nakhon Ratchasima : Faculty of Education, Nakhon Ratchasima Ratchasima Rajabhat University. (In Thai).

Tanya, S. (2012). Educational Research Methodology. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai).

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology (IPST). (2019). PISA Assessment Results 2018: Executive Summary. Retrieved September 9, 2020, from https://pisathailand. ipst.ac.th/pisa2018-summary-result/ (In Thai).

Vygotsky, L. S. (1987). Instructional Implication and Applications of Social Stoical Psychology. New York : Cambridge University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-17

How to Cite

กีรติจำเริญ ว., จงกลกลาง ส., โชรัมย์ ว., & ตั้งศรีทอง ส. (2021). การศึกษาความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้วิธีการให้นั่งร้านของครูและนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในจังหวัดนครราชสีมา . วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(3), 15–29. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.42