การออกแบบและพัฒนารูปแบบเครื่องประดับเพื่อหาแนวทางเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากใบขลู่
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.46คำสำคัญ:
เครื่องประดับ, ผ้าย้อมสีธรรมชาติ, ใบขลู่, ไหมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องประดับจากผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติจากใบขลู่ของกลุ่มวิสาหกิจตำบลบ่อ อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี ให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด กำหนดกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคโดยใช้วิธีสุ่มโดยบังเอิญ จำนวน 200 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นผู้ประกอบการ จำนวน 1 คน ใช้แบบสอบถามสำรวจความต้องการที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำมาร่างแบบเครื่องประดับและคัดเลือกแบบร่างโดยผู้เชี่ยวชาญทางด้านอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 3 คน ด้วยแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ และวิเคราะห์ข้อมูลผลการพัฒนาด้วยสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า แบบร่าง Lantern of soul มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด ซึ่งได้มาจากแนวคิด Asian Affairs ประเภทต่างหู จำนวน 1 คอลเล็กชั่น ประกอบด้วย 3 ชิ้น มีลักษณะคล้ายโคมจีนหรือเต็งลั้งที่ทำจากผ้าไหมย้อมสีธรมมชาติจากใบขลู่ เพราะคนจีนเชื่อว่าโคมไฟเป็นวัฒนธรรมมงคลที่สร้างขึ้นเพื่อเสริมความสิริมงคลเพราะเป็นวัตถุให้แสงสว่างแก่มนุษย์ ประกอบด้วยอักษรมงคลของจีน 3 ตัว ที่มีความหมายว่า ความเจริญ มีความสุข และโชคลาภ และใช้เทคนิคการเคลือบผิวผ้าด้วยสเปรย์ฉีดเคลือบผิวผ้ากันน้ำเพื่อการป้องกันการเปียกนํ้าบนผ้าช่วยเพิ่มอายุในการใช้งานของเครื่องประดับ
References
Chaipinchana, P. (2017). Competitive Advantage Strategy Concerning to Creative Economy of Ceramic Products Group in Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 5(3), 526-534. (In Thai)
Getgaew, V. (2019). Research Methodology (8th ed.). Nonthaburi : Nitithom. (In Thai)
J001. (2019, 20 April). Owner of Sorsara Gems Brand. Interview.
Juthawipat, V. (2002). jewelry design. Bangkok : Chulalongkorn University. (In Thai)
Luca, P. D. (2019). Trenddision Jewellery+Forecasting Trendbook 2020+. Italy : Italian Exhibition Group S.p.A.
Mitpang, T., & Maikanta, S. (2017). Indentity study for design development of Mae Yoi Village’s silverware, Chiang Mai for business opportunity Expansion. In Rajamangala University of Technology Rattanakosin. Proceedings of the 2nd National RMUTR Conference (p. 114-124). Nakhon Pathom: Rajamangala University of Technology Rattanakosin. (In Thai)
Siripan, S. (2009). Gems in jewelry. Bangkok : Darnsutha Press. (In Thai)
Srisukho, P., Sangchan, N., Jaisuda, T., & Boonthon, K. (2018). The Development of Natural Dyeing Wisdom from Local Plants at Tambol Boh Ampur Klung Chantaburi for Develop to Jewelry. Research report. Thailand Science Research and Innovation, Bangkok. (In Thai)
Srisukho, P., Sangchan, N., Jaisuda, T., & Boonthon, K. (2019). A Study of Natural Color from Mangrove Plants at Tambol Boh, Ampur Klung, Chantaburi Province by Community Participation Process. Journal of Rambhai Barni Rajabhat Research, 13(1), 64-73. (In Thai)
Sudsang, N. (2016). Research methodology in designs. Bangkok : Odeon Store. (In Thai)
The Gem and Jewelry Institute of Thailand. (2018). Increase sales in Niche Market with handmade jewelry. Retrieved from https://infocenter.git.or.th/article/article-1821 (In Thai)
Wongrattana, C. (2017). Research tool creating technique: guidelines for professional using. Bangkok : Chulalongkorn. (In Thai)