ความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก

ผู้แต่ง

  • อมิตตา ภักดีถิรโภคิน วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • ลือชัย วงษ์ทอง วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • กิจฐเชต ไกรวาส วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.77

คำสำคัญ:

ความพร้อม, การพัฒนาแรงงานไทย, เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก, สถาบันอาชีวศึกษา

บทคัดย่อ

   

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) นโยบาย/แผนยุทธศาสตร์ที่ใช้ในการบริหารงานในโครงการการผลิตและพัฒนาแรงงานไทย ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก 2) ความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับมากกว่า 0.05 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) ที่เลือกแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 11 คน และกลุ่มผู้ปฏิบัติ จำนวน 22 คน และวิเคราะห์ข้อมูลแบบสร้างข้อสรุปโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)

            ผลการศึกษา พบว่า มีความเหมาะสมในด้าน นโยบาย แผนงาน โครงการ และนโยบายากรผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา โดยด้านความพร้อม พบว่า มีความพร้อมในด้าน โครงสร้าง เพียงด้านเดียว และด้าน วัสดุอุปกรณ์และเครื่องมือเครื่องใช้ มีความพร้อมเล็กน้อย ส่วนด้าน บุคลากร งบประมาณ สถานที่ และโครงการฝึกอบรม/หลักสูตรการพัฒนาบุคลากรการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา ยังไม่มีความพร้อม สำหรับการเสนอแนวทาง 16 ด้าน ได้แก่ด้าน วัสดุอุปกรณ์ บุคลากร ภาษา หลักสูตร การวิจัย ฐานข้อมูล กฎระเบียบ การมีส่วนร่วม งบประมาณ การรับรองมาตรฐาน สถานที่ นวัตกรรมและเทคโนโลยี กิจกรรมการเรียนการสอน สิ่งแวดล้อม ส่งเสริมความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาโครงการ

References

Chandarasorn, V. (2016). An integrated theory of public policy implementation (4th ed.). Bangkok : Phrikhwan graphics. (In Thai)

Chuainukool, N., Rungsrisawat, S., & Harnhirun, S. (2014). INDUSTRIAL POLICY REFORM IN THAILAND : REALITY AND PRACTICALITY. JOURNAL OF GRADUATE STUDIES VALAYA ALONGKORN RAJABHAT UNIVERITY, 8(3), 181-199. (In Thai)

Eastern Economic Corridor Office of Thailand. (2018). Human Resources Development, Education, Research and Technology Action Plan to Support the Development of the Eastern Special Development Zone. Bangkok : Secretary department Human Resources Development, Education, Research and Technology Subcommittee. (In Thai)

Government Gazette. (2018). Eastern Special Development Zone Act B. E. 2561 (2018). Government Gazette Volume 135, part 34i, 14 May 2018. (In Thai)

Information and Communication Technology Center. (2018). Eastern Region Study Plan EEC. Retrieved Febuary 4, 2019, from http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID= 50602&Key=newsSurachet (In Thai)

Khongsanoh, S. (2016). Vocational, Progressive Thai. Bangkok : Academic Service Division 3, Office of Academic. (In Thai)

Mokkaranurak, D. (2011). THE SCENARIO OF VOCATIONAL EDUCATION IN THAILAND DURING THE DECADE (2011-2021). Thesis, Doctor of Philosophy Program in Educational Administration, Graduate School, Khon Kaen University. (In Thai)

Office of Industrial Economics. (2018). NEW ENGINE OF GROWTH. Bangkok : Office of Industrial Economics. (In Thai)

Office of the National Economics and Social Development Council. (2019). 20-year National Strategy Draft. Retrieved April 19, 2018, from https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spm-thaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000362.PDF (In Thai)

Prachayapruth, T. (2007). Management of the development of meaning, content and problem solving. Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

TVET Career Center. (2019). Strategies for developing vocational workforce. Retrieved Feburary 4, 2019, from http://tvet.vec.go.th/ (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-01

How to Cite

ภักดีถิรโภคิน อ., วงษ์ทอง ล., & ไกรวาส ก. . (2020). ความพร้อมของสถาบันอาชีวศึกษา เพื่อรองรับการพัฒนาแรงงานไทยในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 14(4), 213–225. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2020.77