กลยุทธ์การพัฒนาการดำเนินงานระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในจังหวัดตาก
DOI:
https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.13คำสำคัญ:
กลยุทธ์การพัฒนา, การดำเนินงาน, ระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน, โรงเรียนประถมศึกษา, ความหลากหลายทางชาติพันธุ์บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนานี้ ดำเนินการตามวัตถุประสงค์การวิจัยคือ 1) ศึกษาสภาพ ปัญหา ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับประชากรซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและปฏิบัติงานในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในจังหวัดตาก จำนวน 460 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกนได้ 210 คน สุ่มแบบแบ่งชั้นแต่ละอำเภอตามขนาดโรงเรียนในสัดส่วนเท่า ๆ กัน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบบสอบถามที่มีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 และค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.92-0.94 เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง 16 คน ใช้แบบบันทึกการสนทนากลุ่มที่มีแนวคำถามตามแบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูล นำมาวิเคราะห์เนื้อหา 2) พัฒนากลยุทธ์ด้วยการศึกษาวิเคราะห์ เอกสาร เว็บไซต์ เลือกโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ 2 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล 7 คน ทำการสัมภาษณ์เก็บรวบรวมข้อมูล จากนั้นจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 ผู้ให้ข้อมูล 14 คน ใช้เทคนิคการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก พิจารณาให้ค่าน้ำหนักความสำคัญและคะแนนสภาพจริง นำค่าที่ได้มากำหนดตำแหน่งทางกลยุทธ์ ครั้งที่ 2 ผู้ให้ข้อมูล 14 คน ร่วมกันระดมสมอง พิจารณา สรุปผลการจัดทำร่างกลยุทธ์ และจัดสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ 10 คน วิพากษ์ความเหมาะสม สอดคล้อง นำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา 3) ทำการทดลองกลยุทธ์ตามคู่มือและแผนการทดลอง เลือกแบบเจาะจง 1 โรงเรียน ใช้คู่มือและแบบประเมิน (ค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.80-1.00) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาพรวมมีสภาพการดำเนินงาน ร้อยละ 51.07 ปัญหาระดับปานกลาง และปัจจัย ที่เกี่ยวข้องระดับมาก 2) ได้กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1 วิสัยทัศน์ 4 พันธกิจ 4 เป้าประสงค์ 4 ประเด็นกลยุทธ์ 9 กลยุทธ์ 18 ตัวชี้วัด และ 45 มาตรการ ซึ่งตำแหน่งสภาพขององค์การคือ กลยุทธ์เชิงรุก 3) ผลการทดลอง พบว่า มีความสำเร็จร้อยละ 89.10 ศักยภาพและความพึงพอใจทุกข้ออยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด สอดคล้องกับเกณฑ์ประเมิน และผลการประเมิน พบว่า วิสัยทัศน์อยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน และประเด็นกลยุทธ์ ด้านความเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด
References
Bangmo, S. (2011). Organization and management (5th ed.). Bangkok : Wittayapat. (In Thai)
Chaisitwatin, K. (2010). The study of the annual operational planning problem of the school in Rayong Primary Education Service Area Office 2. Thesis, Master of Education Program in Education Administration, Rambhai Barni Rajabhat University, Chanthaburi. (In Thai)
Cronbach, L. J. (1990). Essential of psychological testing (5th ed.). New York : Harper Collins Publishers.
Government gazette. (2017). Constitution of the Kingdom of Thailand. Vol. 134, Part, 40 a, Page 1-90, dated 6th April B. E. 2560. (In Thai)
Krejcie, R. V., & Daryle W. M. (1970). Determining Sampling Size for Research Activities. Journal of Education and Psychological Measurement, 10(11), 308.
Mookdakit, D. (2011). The Development of the Students care and support system In Bannongsang School, Thakuntho District, Karasin Province, By Action Research. Thesis, Master of Educational Adminiatration Program in Rajabhat Maha Sarakham University, Maha Sarakham. (In Thai)
Office of the basic Education Commission. (2009). The student care system, principles, concepts and direction in operations (2nd ed.). Bangkok : Ministry of Education. (In Thai)
Office of the basic Education Commission. (2014). Handbook for the protection and assistance of students. Bangkok : Printing Cooperative of Thailand. (In Thai)
Office of the basic Education Commission. (2016). A Student-Care Management System. Bangkok : Printing Cooperative of Thailand. (In Thai)
Office of the National Economic and Social Development Board. (2016). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2018-2021). Bangkok : Office of the Prime Misnister. (In Thai)
Panphudyen, S. (2012). Development of Strategic Plan for the implementation of student council activities. Theis, Docotr of Philosophy Program in Administration and Development strategy, Kamphaeng Phet Rajabhat University, Kamphaeng Phet. (In Thai)
Phakaphatwiwat, S. (2010). Strategic Management (20th ed.). Bangkok : Amarin Printing and Publishing. (In Thai)
Pongkanta, S. (2018). Strategy development for Professional School Administrators under Kamphaeng Phet Primary Educational Office Area 1 and 2. Thesis, Docotr of Administration and Development strategy Program in Kamphaeng Phet Rajabhat University, Kamphaeng Phet. (In Thai)
Primary Education Service Area. (2014). Basic information school under the Office of Tak. Retrieved September 14, 2017, from https://data.bopp-obec.info/emis/school.php?Area_CODE=6302 (In Thai)
Sirirat, A. (2010). Potential for community energy planning of Hin Khon Subdistrict Administrative Organization, Chakkarat District, Nakhon Ratchasima Province. Independent Study, Master of Public Administration Program in Public Administration, Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)
Soanplang, P. (2012). Strategic information system. Bangkok : SE-EDUCATION. (In Thai)
Srisa-ard, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok : Suwiriyasarn. (In Thai)
Stuffelebeam, D. L. (1983). The CIPP Model for Program Evaluation. Massachusetts : Kluwer-Nighoff.
Tak Primary Educational Service Area Office 1. (2018). Basic education development plan (2017-2021) (Revised version 2018). Tak : Tak Primary Educational Service Area Office 1. (In Thai)
Tak Primary Educational Service Area Office 2. (2018). Annual Action Plan 2018. Tak : Tak Primary Educational Service Area Office 2. (In Thai)