การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • อนุจิตร ชิณสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.7

คำสำคัญ:

การบริหารงาน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการบริหารงานและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และศึกษาแนวทางการประยุกต์การบริหารงานที่เป็นเลิศขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้นแบบด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่น ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญเลือกจากพื้นที่เป้าหมายแบบเจาะจง 3 แห่ง ที่เคยได้รับรางวัลพระปกเกล้าด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้บริหารและกลุ่มสมาชิกสภาท้องถิ่น แบบสนทนากลุ่มโดยจัดประชุมกลุ่มย่อยด้วยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มผู้ปฏิบัติงานท้องถิ่นและกลุ่มประชาชนในพื้นที่ พร้อมการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วมกับทุกกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 102 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจำแนกชนิดข้อมูลระดับท้องถิ่น และระดับภาพรวม นำเสนอผลการวิจัยด้วยวิธีพรรณนาบรรยาย

            ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการบริหารงาน พบว่า มีลักษณะการบริหารงานแบบมีส่วนร่วมเหมือนกันทุกแห่ง ซึ่งทุกปัจจัยส่งผลต่อความสำเร็จในการบริหารงานที่เป็นเลิศ โดยให้ความสำคัญกับทุกฝ่ายในการทำงานร่วมกันและสร้างการมีส่วนร่วมกับภาคประชาชนอย่างแท้จริง และข้อค้นพบแนวทางสำคัญที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ ได้แก่ 1) กำหนดนโยบายและวิสัยทัศน์องค์กรที่ชัดเจน 2) สร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3) สร้างระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างมีผลสัมฤทธิ์เชิงประจักษ์ 4) นำระบบเครือข่ายทางสังคมมาใช้ในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 5) ปฏิรูปองค์กรแบบส่วนร่วมที่เหมาะสมกับการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกระดับ

References

Chanthawanich, S. (2010). Qualitative Methods (18th ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Press. (In Thai)

Chinasan, A. (2014). Innovative Administration of Local Government in the Northeast. Thesis, Doctor of Philosophy Program in Public Administration, Graduate School of Public Administraiton, Burapha University, Chonburi. (In Thai)

Dailynews. (2017). KPI Awards 2560: Local Reputation. Retrieved December 2, 2019, from https://www.dailynews.co.th/politics/607622 (In Thai)

Department of Local Administration. (2019). Information on the number of local government organizations by province. Retrieved December 2, 2019, from http://www.dla.go.th/work /abt/province.jsp (In Thai)

Intaprom, W. (2014). Model of Public Participation in the Local Development. Valaya Alongkorn Rajabhat University under the Royal Patronage, 8(3), 278-289. (In Thai)

Jonjoabsong, L. (2014). Community way: Knowledge management to upgrade the business of villagers. Bangkok : Cholalongkorn University. (In Thai)

Ketsuwan, R. (2010). Introduction to Public Administration. Bangkok : Bophit printing. (In Thai)

King Prajadhipok’s Institute. (2014). KPI Awards 2557: Local Reputation. Bangkok : King Prajadhipok’s Institute. (In Thai)

King Prajadhipok’s Institute. (2018). KPI Awards 2561: Local Reputation. Bangkok : King Prajadhipok’s Institute. (In Thai)

Krueathep, W. (2005). Innovative innovation of local government organization. Bankgok : The Thailand Research Fund. (In Thai)

Mongkolpitaksuk, U. (2017) Organizational Culture of Local Administrative Organization in the Era of Thailand 4.0. Romphruek Jouranl Krirk University, 35(2), 141-162. (In Thai)

Office of the Permanent Secretary for Ministry of Agriculture and Cooperatives. (2012). Organization innovation analysis. Publication Documentation Office of Management System Development Office of the Permanent Secretary for Agriculture and Coopertives, June 2012 (pp. 1-11). Bangkok : Office of Management System Development Office of the Permanent Secretary, Ministry of Agriculture and Cooperatives. (In Thai)

Pannasil, P., Kenaphoom, S., & Kosolkittiamporn, S. (2015). The Role of Local Executive in the 21st Century. Journal of MCU Peace Studies, 3(2), 146-161. (In Thai)

Peter, B. G. (1995). The Politics of Bureaucracy. New York : Longman Publishers.

Puang-ngam, K. (2007). Local government: Theory, Concept and Principle. Bangkok : Exponet. (In Thai)

Sangkhawan, J. (2014). Strategic Leadership. Bangkok : SE-EDUCATION. (In Thai)

Srikhruedong, A., Rangmeesrisuk, J., & Phrakhrusangharak Chakkit Phuriponyo (Kattiyang). (2015). The Development Network in the Administration of Nonthaburi Municipality. Research report. Phra Nakhon Si Ayutthaya : Mahachulalongkornrajavidyalaya University. (In Thai)

Sucharitkul, J. (2019). Transformational Leadership Among Administrators of the Local Government Administration in Thailand 4.0 ERA: A Case Study of Phuket Local Government Administration. Journal of MCU Nakhondhat, 6(10), 14930-14943. (In Thai)

Suwannaphirom, S. (2008). Leadership. Bangkok : Phimdee. (In Thai)

Teerawekin, L. (2013). Politics of Thai public administration. In The handouts Nakhon Ratchasima. Nakhon Ratchasima : Nakhon Ratchasima Rajabhat University. (In Thai)

Wattanasen, M. (2016). Citizen Participation in Public Affairs Management: Auditing of Local Administration Organizatoins. Local Administration Journal, 9(2), 90-107.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-04

How to Cite

ชิณสาร อ. (2021). การบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เป็นเลิศด้านความโปร่งใสและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน กรณีศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 15(1), 83–93. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2021.7