ความพร้อมของนักศึกษาต่อการเรียนออนไลน์ : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

ผู้แต่ง

  • ศรัณยา ฤกษ์ขำ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.5

คำสำคัญ:

ความพร้อมต่อการเรียนออนไลน์, การเรียนออนไลน์, นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

บทคัดย่อ

การวางแผนพัฒนาการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับระดับความพร้อมของนักศึกษาที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันเป็นพื้นฐานสำคัญของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะครูผู้สอน นำมาสู่การวิจัยนี้โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลประชากรศาสตร์ ข้อมูลเบื้องต้น ความพร้อม และเปรียบเทียบความพร้อม ต่อการเรียนออนไลน์ของนักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เลือกกลุ่มเป้าหมายทั้งหมดเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 1,421 คน โดยใช้แบบสอบถามของ Martin et al. และ Yu เก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้วิจัยทำการส่งและได้รับตอบกลับคืน 760 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแตกต่างรายคู่ด้วยแอลเอสดี ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในสาขาวิชาคณิตศาสตร์คาดว่าจะเรียนออนไลน์จากที่บ้านมากที่สุด ใช้อุปกรณ์ตั้งแต่สองชนิดขึ้นไปในการเรียนออนไลน์ มีความพร้อมด้านอุปกรณ์สำหรับการเรียนออนไลน์ระดับปานกลาง ด้านทักษะการใช้เทคโนโลยีอยู่ในระดับมาก นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทุกสาขาวิชามีความพร้อมต่อการเรียนออนไลน์อยู่ในระดับมาก และสูงกว่าชั้นปีที่ 1 และชั้นปีที่ 2 ขณะที่ชั้นปีที่ 1 ไม่แตกต่างจากชั้นปีที่ 2 และชั้นปีที่ 3 โดยทั้ง 11 สาขาวิชา มีความพร้อมต่อการเรียนออนไลน์แตกต่างกัน ซึ่งสาขาภาษาอังกฤษมีความพร้อมต่อการเรียนออนไลน์ระดับมาก ส่วนกลุ่มสาขามีความพร้อมต่อการเรียนออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และหลักสูตรที่สอนด้วยภาษาไทยและหลักสูตรที่สอนด้วยภาษาอังกฤษ แตกต่างกัน ดังนั้น การใช้ช่องทางการสื่อสารผ่านเทคโนโลยีมาปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนออนไลน์ สามารถเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนและผู้สอนได้มากยิ่งขึ้น

References

Bernard, R. M., Brauser, A., Abrami, P. C., & Surkes, M. (2004). The development of a questionnaire for predicting online learning achievement. Distance Education, 25(1), 31-47.

Dray, B. J., Lowenthal, P. R., Miszkiewicz, M. J., Ruiz-Primo, M. A., & Marczynski, K. (2011). Developing an instrument to assess student readiness for online learning: A validation study. Distance Education, 32(1), 29-47.

Hung, M.-L., Chou, C., Chen, C.-H., & Own, Z.-Y. (2010). Learner readiness for online learning: Scale development and student perceptions. Computer & Education, 55(3), 1080-1090.

Jitsupa, J., Songsom, N., & Nilsook, P. (2014). The study of e-learning readiness of undergraduate students of Suan Dusit Rajabhat University. Journal of Industrial Education, 13(2), 66-73. (In Thai)

Kerr, M. S., Rynearson, K., & Kerr, M. C. (2006). Student characteristics for online learning success. The Internet and Higher Educatin, 9(2), 91-105.

Khajadpai, N. (2016). Development of web base instruction in 554251, course interior design 1. NRRU Community Research Journal, 10(2), 41-50. (In Thai)

Kuama, S., & Intharaksa, U. (2016). Is online learning suitable for all English language students?. Journal of Language Teaching and Learning in Thailand, 52, 53-82.

Martin, F., Stamper, B., & Flowers, C. (2020). Examining student perception of readiness for online learning: Importance and confidence. Online Learning Journal, 24(2), 38-58.

Muilenburg, L. Y., & Berge, Z. L. (2005). Student barriers to online learning: A factor analytic study. Distance Education, 26(1), 29-48.

Organisation for Economic Co-operation and Development. (2020). Learning remotely when schools close: How well are students are schools prepared? Insights from PISA. Retrieved August 25, 2020 from https://www.oecd.org/ (In Thai)

Oxford College. (n.d.). Analysis of variance (One-way ANOVA). Retrieved January 28, 2022, from http://mathcenter.oxford.emory.edu/site/math117/anova/

Pattanasombutsook, M. (2021). Validation of nursing research reports and proper use of social science research instruments in publishing. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 8(2), 329-343. (In Thai)

Rattanamanee, N., & Phasunon, P. (2019). Response rate in quantitative research. Journal of Humanities and Social Sciences Thonburi University, 13(3), 181-188. (In Thai)

Russell, M., Kleiman, G., Douglas, J., & Douglas, R. C. (2009). Comparing self-pace and cohort-based online courses for teachers. Journal of Research on Technology in Education, 41(4), 443-466.

Smith, P. J. (2005). Learning preferences and readiness for online learning. Educational Psychology: An International Journal of Experimental Educational Psychology, 25(1), 3-12.

Srisaard, B. (2018). Data interpretation in the rating scale instrument. Journal of Educational Measurement Mahasarakham University, 2(1), 64-70. (In Thai)

Thai government gazette. (2004). Rajabhat University Act B. E. 2547. 121(Special part 23 Kor), 1-24. (In Thai)

Tuntirojanawong, S. (2014). Students’ readiness for E-learning: A case study of graduate students in Educational Administration Department School of Educational Studies Sukhothai Thammathirat Open University. Electronic Journal of Open and Distance Innovative Learning, 4(2), 1-17. (In Thai)

UNESCO. (2020). COVID-19 impact on education. Retrieved August 3, 2020, from https://en. unesco.org/covid19/educationresponse

Watkins, R., Leigh, D., & Triner, D. (2004). Assessing readiness for online learning. Performance Improvement Quarterly, 17(4), 66-79.

Yu, T. (2018). Examining construct validity of the Student Online Learning Readiness (SOLR) instrument using confirmatory factor analysis. Online Learning, 22(4), 277-288.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

ฤกษ์ขำ ศ. (2022). ความพร้อมของนักศึกษาต่อการเรียนออนไลน์ : กรณีศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 51–63. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.5