การพัฒนารูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • ผกาวดี ไวกสิกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
  • สาธิน ประจันบาน คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก
  • ภาณุ กุศลวงศ์ คณะพลศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จังหวัดนครนายก

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.15

คำสำคัญ:

รูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็ก, ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐาน, นักเรียนชั้นประถมศึกษา

บทคัดย่อ

พัฒนาการทางร่างกายเป็นรากฐานในการพัฒนาทักษะที่สำคัญสำหรับเด็ก ดังนั้น การพัฒนารูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ด้วยการวิจัยและพัฒนาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและแนวทางการจัดกิจกรรมกรีฑา โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงโรงเรียนเป็นกรณีศึกษา จำนวน 2 แห่ง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วไปเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์สรุปภาพรวมของรูปแบบ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบกิจกรรมกรีฑา โดยการสร้างแบบทดสอบทักษะและแบบประเมินความพึงพอใจที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.76 และ 0.80 และ 3) ศึกษาและประเมินผล โดยการทดลองใช้รูปแบบที่สร้างขึ้นกับกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง จำนวน 31 คน ทำการทดสอบทักษะตามแบบแผนการวิจัยกึ่งทดลอง และประเมินความพึงพอใจ และวิเคราะห์ทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวชนิดวัดซ้ำ และวิเคราะห์ความพึงพอใจโดยใช้สถิติหาค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กในโรงเรียนส่วนใหญ่สอดแทรกในการเรียนการสอนรายวิชาพลศึกษา จึงมีแนวทางแก้ไขคือควรใช้กิจกรรมจากรูปแบบที่ง่ายไปสู่รูปแบบที่ยาก ซับซ้อนและหลากหลายยิ่งขึ้น 2) รูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กที่พัฒนาขึ้นได้มี 4 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผล (2) วัตถุประสงค์ (3) กิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม (4) การประเมินผล และ 3) นักเรียนมีทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานดีกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรม และมีความพึงพอใจมากที่สุด สะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบกิจกรรมที่สร้างขึ้นเหมาะแก่การนำไปใช้ในการจัดกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานสำหรับเด็กนักเรียน

References

Aunpia, S. (2013). Effects of Art Activities Management towards Harrow's Theory on Abilities of Clay Modeling of Children Aged 9-11 Years Old. Thesis, Master of Education Program in Art Education, Chulalongkorn University, Bangkok. (In Thai)

Australian Sports Commission. (2010). Athletics Play. Australia : Australian Sports Commission publications.

Çalik, S. U., Pekel, H. A., & Aydos, L. (2018). A Study of Effects of Kids' Athletics Exercises on Academic Achievement and Self-esteem. Universal Journal of Educational Research, 6(8), 1667-1674.

Department of Education, Sukhothai Thammathirat Open University. (2007). A collection of subjects, basic skills and experience for elementary school children (2nd ed.). Nonthaburi : Sukhothai Thammathirat Open University. (In Thai)

Department of Physical Education. (2014). Athletics Trainer Guide T-Certificate. Bangkok : War Veterans Organization Thai Printing. (In Thai)

Gozzoli, C. H., Simohamed, J., & El-Hebil, A. (2006). IAAF Kids’ Athletics a team event for children. International Association of Athletics Federations. Monaco : IAAF.

Cillik, I., & Willweber, T. (2018). Influence of an exercise programme on level of coordination in children aged 6 to 7. Journal of human sport & exercise, 13(2), 455-465.

Kammanee, T. (2018). Teaching science : Knowledge base for effective learning process (22nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House. (In Thai)

McCall, R. M., & Craft, D. H. (2000). Moving with a purpose: developing programs for preschoolers of all abilities. Champaign, IL : Human Kinetics.

Ministry of Education. (2009). Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008). Bangkok : Office of the Basic Education Commission, Ministry of Education. (In Thai)

Ministry of Education. (2013). National Education Act B.E. 2542 (1999) and Amendments Second National Education Act .B.E. 2545 (2002). Bangkok : Kurusapa Printing Ladphrao. (In Thai)

Ministry of Public Health. (2013). Thai developmental skills inventory for children. Bangkok : Bureau of Health Promotion : Department of Health, Ministry of Public Health. (In Thai)

Ministry of Public Health. (2017). Recommendations for promoting physical activity, reducing sedentary behavior and sleep for school age and teenagers (6-17 years). Nonthaburi : Division Of Physical Activity And Health. (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2016). The twelfth National Economic and Social Development Plan (2017-2021). Bangkok : Office of the National Economic and Social Development Council. (In Thai)

Panked, C. (1997). Introduction to track and field coaching. Bangkok : Odian Store. (In Thai)

Peanchob, W. (2018). A collection of articles on philosophy, principles, teaching methods, and measurement for evaluation in physical education (2nd ed.). Bangkok : Chulalongkorn University Printing House.(In Thai)

Pinyoanantapong, S. (2010). The new trends of measure and evaluate : Early childhood (3rd ed.). Bangkok : Dok Ya Wichakan. (In Thai)

Sports Authority of Thailand. (2015). Athletics Trainer Guide. Bangkok : Sports Academic Division, Sports Authority of Thailand. (In Thai)

Thai Health Promotion Foundation. (2016). ThaiHealth organizes a "Athletics for Kids" competition to reduce stagnation. Retrieved August 2, 2019, from https://www.thaihealth.or.th/Content /32175.html (In Thai)

United Nations Thailand. (2015). Thailand Sustainable Development Goals. Retrieved August 2, 2019, from https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/ (In Thai)

รูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

ไวกสิกรรม ผ., ประจันบาน ส., & กุศลวงศ์ ภ. (2022). การพัฒนารูปแบบกิจกรรมกรีฑาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมทักษะการเคลื่อนไหวขั้นพื้นฐานของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 180–193. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.15