นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืนของชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • ผกามาศ บุตรสาลี คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • สุพัตรา รักการศิลป์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
  • แก้วมณี อุทิรัมย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

DOI:

https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.8

คำสำคัญ:

นวัตกรรม, การจัดการความรู้, นวัตกรรมการจัดการความรู้ การจัดทำบัญชีครัวเรือน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, การจัดทำบัญชีครัวเรือน, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การสนับสนุนชุมชนให้สามารถสร้างรายได้และยืนอยู่ได้ด้วยตนเองโดยการให้ความรู้ทางบัญชีในการวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินนวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ กำหนดกลุ่มเป้าหมายด้วยการเลือกแบบเจาะจงเป็นกลุ่มผู้ทำบัญชีและทำหน้าที่สอนบัญชีครัวเรือน 30 คน ทำการศึกษาข้อมูลเชิงเอกสารเพื่อสร้างรูปแบบนวัตกรรม จากนั้นใช้แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง ในการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การจัดเวทีระดมสมองแบบสนทนากลุ่มโดยใช้โมเดลก้างปลา นำข้อมูลที่ได้มาสร้างรูปแบบนวัตกรรมและคู่มือ ทำการปะะเมินความเหมาะสมโดยใช้แบบประเมินที่มีค่าความสอดคล้องเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างความเข้าใจ 2) การจัดอบรม 3) การสอบบัญชีครัวเรือน 4) การกำกับติดตาม 5) การสร้างเครือข่ายการทำงาน และ 6) การวิเคราะห์ข้อมูล และได้คู่มือที่มีองค์ประกอบ 10 รายการ คือ 1) ที่มาข้อมูล 2) ข้อมูลกลุ่มอาชีพ 3) กระบวนการจัดการความรู้ 4) เป้าหมาย 5) แนวทางการสร้างรูปแบบสมุดบัญชีครัวเรือน 6) วิธีการบันทึกบัญชีครัวเรือน 7) ประเภทพของรายได้ในครัวเรือน 8) ประเภทของรายจ่ายในครัวเรือน 9) รูปแบบสมุดบัญชีครัวเรือน และ 10) ความเหมาะสมในการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งภาพรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่งผลให้ชุมชนรับรู้กำไรและการใช้จ่ายที่ชัดเจน สามารถลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและมีเงินออมเพิ่มมากขึ้น

References

Butsalee, P., Worarit, T., & Karin, K. (2016). To Study Participatory of Accounting System of the Silk Weaving Community in Ban Non Sila, Tambol Thalung Lek, Muang Buriam, Buriam Privince. Journal of Research and Development Buriam Rajabhat University, Special Issue, 14-20. (In Thai)

Chaipinchana, P. (2014). Development of Household Accounting System Under Sufficiency Economy Philosophy with Participation of Community, Nong Pa Krung Sub-district, Muang District, Chiang Mai Province. Journal of Community Development and Life Quality, 2(1), 37-48. (In Thai)

Chakphithak, N. (2009). Knowledge Management Theory. Chiang Mai : Chiang Mai University. (In Thai)

Chuanchom, J. (2015). Guidelines for Promoting Household Accounting for Students in Rajabhat University. Research Report. Suan Dusit University, Bangkok. (In Thai)

Jaensirisak, S. & Pahumunto, S. (2011). Accounting System Development for OTOP in Ubon Ratchathani. Jourmal of MIS of Naresuan University, 6(1), 1-15. (In Thai)

Jokkaew, J. (2016). Cognitive Management of Accounting and Finalcial Management for Bangbua building contractor business unit, Bang Khen, Bangkok. Area Based Development Research Jouanl, 8(1), 22-41. (In Thai)

Langkhunsaen, S. (2011). Development of Accounting System Applied to the Participation of Community Shops, Tambol San Don Kaew, Amphur Maetha, Lampang Province. In The Graduate Research Conference (12thed) (pp. 373-377). Khon Kaen University, Khon Kaen. (In Thai)

Likitwongkajon, N (2007). Households Accounting : Tools to Sufficiency Economy. Journal of Academic Services Khon Kaen University, 15(3), 25-29. (In Thai)

Musik, N. (2014). The Effect of Household Accounting Efficiency on the Quality of Life Under the Sufficiency Economy Philosophy of Famers in Maha Sarakham Province. Journal of Graduate School of Commerce-Burapha Review, 9(1), 45-58. (In Thai)

Office of the National Economic and Social Development Council. (2014). Human and Social Development. Retrieved September 4, 2016, from http://social.nesdb.go.th/social (In Thai)

Panich, V. (2016). Knowledge Management: KM (Definition to Perform). Retrieved September 4, 2016, from http://kmi.trf.or.th/Document/AboutKM/About_KM.pdf (In Thai)

Peuchthonglang, P & Namwongprom, A. (2013). Strong Community Livable Society, Sustainable Economy. Journal of Community Development and Life Quality, 1(3), 1-6. (In Thai)

Phasukyoet, P. (2006). Knowledge Management. Bangkok : Yaimai Creative Group. (In Thai)

Pintakaewm A. & Phokhathong, T. (2015). Knowledge Management of Community Welfare Fund in Saraphi Sub-district, Amphoe Saraphi, Chiang Mai Province. Journal of Management and Marketing, 2(1), 87-95. (In Thai)

Pusriaon, T. (2018). Research and development in Education. Mahasarakham : Takkasila Karphim. (In Thai)

Srisa-ard, B. (2011). Preliminary Research (8th ed.). Bangkok : Suwiriyasan. (In Thai)

Suwannaraj, S. (2016). Development approach of household accounting Cooperative Credit Unions : A Case Study Cooperative Credit Union Thipchang, Tambon Pongyangkhok, Amphurhangchat Lampang Province. Journal of Modern Management Science, 9(1), 154-166. (In Thai).

Wasi, P. (2007). Sufficiency Economy and Civil Socity. Bangkok : Mochaoban. (In Thai)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-01-01

How to Cite

บุตรสาลี ผ., รักการศิลป์ ส., & อุทิรัมย์ แ. (2022). นวัตกรรมการจัดการความรู้ด้านการจัดทำบัญชีครัวเรือนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการเสริมสร้างองค์ความรู้อย่างยั่งยืนของชุมชนสายยาว ตำบลถลุงเหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัยและพัฒนาสังคม, 16(1), 92–103. https://doi.org/10.14456/nrru-rdi.2022.8